เมนูปิด
ภาษีที่เกี่ยวข้อง
ภาษีที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ประเด็นสำคัญทางภาษี

          ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้า หรือ ให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

          ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก
e-Commerce ไปรวมคำนวณกับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของ
ปีถัดไป

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่าย(เลือก)
หักค่าลดหย่อนตามกฎหมาย
จากการขายสินค้า 1. เป็นการเหมา 1. ส่วนตัว
จาการให้บริการ2. ตามความจำเป็นและสมควร2. คู่สมรส
 (หักค่าใช้จ่ายจริง)3. บุตร
  4. เบี้ยประกันชีวิต
  5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  6. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
   7. เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
  8. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
  9. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา
  10. ค่าเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรพิการหรือทุพพลภาพ
  11. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา
  12. เงินบริจาค
  13. อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

 

คำนวณภาษีวิธีที่ 1 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ
อัตราภาษี ร้อยละ

1-150,000 บาท

ได้รับยกเว้น
150,001-300,000 บาท
5%

300,001-500,000 บาท

10%

500,001-750,000 บาท
15%
750,001-1,00,000 บาท
20%
1,000,001-2,000,000 บาท
25%
2,000,001-5,000,000 บาท
30%
5,000,001 ขึ้นไป
35%

รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป

คำนวณภาษีวิธีที่ 2

กรณีเงินได้ทุกประเภทไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนรวมตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดเงินได้
คูณด้วย 0.005
คำนวณภาษีจาก 2 วิธี แล้วให้ชำระจากยอดที่มากกว่า
เว้นแต่คำนวณภาษวีธีที่ 2 แล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระตามวิธีที่ 1

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

          ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีจากำไรสุทธิ ตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการ
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละ
ไม่เกิน 300,000 บาท
ยกเว้น
300,001-3,000,000 บาท
15%
3,000,001 บาทขึ้นไป20%

รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 603) พ.ศ. 2559 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

2. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและ
งบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละ
1 - 300,000 บาท
ยกเว้น
300,001 บาทขึ้นไป
10%

รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560 เสียภาษีจาก
กำไรสุทธิ

3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละ
จำนวนกำไรสุทธิ
20%

รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 42 เสียภาษีจากกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

         ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม

 

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ

ภาษีขาย = ฐานภาษี x อัตราภาษี

 

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน

ภาษีที่ต้องขำระ = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 03-07-2017