ของขวัญกับการเสียภาษี
ชื่อเรื่อง : ภาษีซื้อต้องห้าม กรณีกระเช้าของขวัญ
คำถาม : ซื้อกระเช้าของขวัญแจกลูกค้าในเทศกาล นำภาษีซื้อมาขอเครดิตได้หรือไม่
คำตอบ : ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อกระเช้าของขวัญมาแจกหรือให้เป็นของขวัญแก่ลูกค้าเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญดังกล่าว เป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำไปหักออกจากภาษีขาย ตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากรและ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)ส่วนภาษีขาย หากกระเช้าของขวัญดังกล่าวเป็นสิ่งของที่บริษัทพึงให้แก่ลูกค้าตามประเพณี ทางธุรกิจทั่วไปและมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควรแล้ว บริษัทไม่ต้องนำมูลค่าของกระเช้าดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากรและ ข้อ 2(6) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)
ชื่อเรื่อง : แจกของขวัญนำมาเป็นค่าใช้จ่าย
คำถาม : บริษัทแจกของขวัญให้ลูกค้า บริษัทนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าไรที่สรรพากรจะไม่ต้องให้มาบวกกลับและนำมาเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
คำตอบ : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าใช้จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราว ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522)
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญแจกเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตาม มาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากรและ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
ชื่อเรื่อง : เช็คของขวัญให้พนักงานถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
คำถาม : บริษัทให้เช็คของขวัญกับพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ได้หรือไม่
คำตอบ : ถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาต้องห้าม ตาม มาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ชื่อเรื่อง : จ้างทำ ส.ค.ส.
คำถาม : บริษัทจ้างทำ ส.ค.ส. โดยให้ ใส่โลโก้ของบริษัท ถามว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
คำตอบ : หากผู้รับจ้างมิได้ผลิตขายเป็นปกติทั่วไป แต่เป็นการผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งสินค้าจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยเมื่อผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ลูกค้าตกลงจะยอมรับสินค้าที่ตรงตามคำสั่งของตนเท่านั้น กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ผู้ว่าจ้างจึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้ให้บริษัทในอัตราร้อยละ 3 ตาม ข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/25428ฯแต่หากเป็นการผลิตขายเป็นปกติทั่วไปอยู่แล้ว การจ่ายเงินได้ดังกล่าวจะถือเป็นการซื้อสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ชื่อเรื่อง : ตารางสรุปภาระภาษีกรณีการแจก แถมและสินค้าที่ใช้ไปในการส่งเสริมการขาย
กิจกรรมส่งเสริมการขาย | ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการขายสินค้าหรือบริการ | ภาษีเงินได้นิติบุคคล | ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | ||
เสีย/+ภาษีขาย | ยกเว้น/ไม่เสีย | หักภาษีซื้อได้ | ต้นทุนของสินค้า ถือเป็นรายจ่าย | ||
1. การแจกสินค้า (Free distribution)
|
| X | X |
|
|
|
| X | X | X |
|
| X |
| X | X |
|
| X |
| X | X |
|
2. การใช้คูปอง(Used Coupon)
|
| X |
| X |
|
|
| X |
| X |
|
|
| X |
| X |
|
3. ของแถมที่ให้ผู้บริโภค (Premium)
|
| X | X | X |
|
|
| X | X | X |
|
|
| X | X | X |
|
| X |
| X | X |
|
| X |
| X | X |
|
| X |
| X | X |
|
| X |
| X |
|
|
|
| X | X | X |
|
4. ส่วนลด (Discount)
|
| X | X | X |
|
|
| X | X | X |
|
| X |
| X | X | X |
5. ของขวัญและของชำร่วย (Gift & Supplement)
|
|
|
|
|
|
| X |
| X |
|
|
6. ของรางวัล
|
|
|
|
|
|
| X |
| X | X | X |
7. การบริจาคสินค้า(Donation)
|
|
|
|
|
|
| X |
|
| X |
|
| X |
|
|
|
|
RD Call Center 1161
บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี