ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Q1 : เลื่อนยื่นแบบฯ และชำระภาษีรวมถึงการขอคืนภาษีด้วยใช่หรือไม่
A1 : กรณีผู้เสียภาษีมีความประสงค์จะขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน สามารถขอคืนภาษีได้พร้อมกับการยื่นรายการและชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
Q2 : ยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตไปแล้วจะต้องเสียภาษีภายในวันที่ 8 เมษายน 2562 ทำอย่างไรถึงจะยืดการจ่ายภาษีได้
A2 : กรณีที่ผู้เสียภาษีพิมพ์ชุดชำระเงินโดยระบุให้ชำระภาษีภายในวันที่ 8 เมษายน 2563 หากผู้เสียภาษีประสงค์จะชำระเงินหลังวันที่ 8 เมษายน 2563 จะต้องพิมพ์ชุดชำระเงินในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใหม่ เนื่องจากชุดชำระเงินฉบับเดิมจะหมดอายุตามวันที่ที่ระบุไว้
Q3 : ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตก็ขยายถึง 31 สิงหาคม 2563 ใช่หรือไม่
A3 : กรณีการยื่นรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2562 ซึ่งต้องยื่นรายการฯ ภายในวันที่ 8 เมษายน 2563 ให้ขยายเวลาการยื่นแบบฯ ออกไป เป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
Q4 : ข้อมูลในเว็บไซต์ยังเป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
A4 : กรมสรรพากรได้ออกมาตรการขยายเวลาการยื่นแบบฯ และชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2562 รอบ 1 จากภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และเพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้แก่ผู้เสียภาษีเพิ่มเติม จึงได้ออกมาตรการขยายเวลาการยื่นแบบฯ รอบ 2 จากภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ออกไปเป็น ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
Q5 : ประกาศและมีผลบังคับวันใด
A5 : ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมิน ประจำปีภาษี 2562 ปัจจุบันได้ออกมาแล้ว 2 ฉบับ ซึ่งขยายเวลาการยื่นแบบฯ ตามแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 จากภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 มีผลบังคับใช้แล้ว
Q6 : ทำประกันสุขภาพเนื่องจาก COVID 19 เท่านั้น ใช่หรือไม่ หรือประกันสุขภาพทั่วไปก็ลดหย่อนได้ 25,000 บาท เช่นกัน
A6 : ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการประกันสุขภาพ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เท่านั้น กรณีทำประกันสุขภาพทั่วไปก็สามารถใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้
Q7 : กรมธรรม์เป็นชื่อบุตรได้หรือไม่ และการทำประกันสุขภาพให้บิดามารดาสามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่
A7 : การจ่ายเบี้ยประกันที่จะได้รับสิทธิตามมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ จะต้องเป็นการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนเท่านั้น
Q8 : มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพมีผลใช้บังคับเมื่อใด
A8 : คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 โดยกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท โดยเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการประสุขภาพที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Q1 : หากยื่นแบบ ภ.ง..ด.50 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระภาษี ต้องชำระตามกำหนดเดิมหรือไม่
A1 : หากยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระภาษี โดยวันสิ้นสุดการชำระเงินที่ปรากฏใน Pay-in Slip เป็นกำหนดเวลาเดิม สามารถเข้าระบบ e-Filing และพิมพ์ใบ Pay-in Slip ใหม่ได้ โดยจะเป็น Pay-in Slip ที่ระบุวันสิ้นสุดการชำระเงินตามเวลาที่ได้ขยายไป ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการประสงค์ที่จะชำระภาษีตามกำหนดเวลาเดิมก็สามารถกระทำได้
Q2 : บริษัทมหาชนและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีหรือไม่
A2 : มาตรการนี้ขยายเวลาให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51, ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.55 และการยื่นรายงานฯ (Disclosure Form) โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มแต่อย่างใด หากยื่นแบบฯ และชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายออกไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบเพิ่มเติมของเดือนภาษีอื่น โดยได้รับขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษี ดังนี้
ประเภทแบบแสดงรายการ | กำหนดเวลาเดิม | ขยายเวลาออกไปเป็น |
ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.55
การยื่นรายงานฯ (Disclosure Form) ภ.ง.ด.51
| ภายในเดือน เม.ย. ก.ย. 63
ภายในเดือน เม.ย. ส.ค. 63 ภายในเดือน เม.ย. ก.ย. 63
| ภายใน 31 ส.ค. 63
ภายใน 31 ส.ค. 63 ภายใน 30 ก.ย. 63 |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
Q1 : หากยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระภาษี ต้องชำระตามกำหนดเดิมหรือไม่
A1 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระภาษี โดยวันสิ้นสุดการชำระเงินที่ปรากฏใน Pay-in Slip เป็นกำหนดเวลาเดิม สามารถเข้าระบบ e-Filing และพิมพ์ใบ Pay-in Slip ใหม่ได้ โดยจะเป็น Pay-in Slip ที่ระบุวันสิ้นสุดการชำระเงินตามเวลาที่ได้ขยายไป ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการประสงค์ที่จะชำระภาษีตามกำหนดเวลาเดิมก็สามารถกระทำได้
Q2 : แบบ ภ.พ.30 ซึ่งได้รับการขยายไปถึงวันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2563 จะได้รับการเลื่อนออกไปเป็นวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 หรือไม่
A2 : สำหรับแบบ ภ.พ.30 สามารถยื่นแบบฯ และชำระได้ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เนื่องจากวันที่ 23 และ 24 พฤษภาคม 2563 เป็นวันหยุดราชการ
Q3 : บริษัทมหาชนและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีหรือไม่
A3 : มาตรการนี้ขยายเวลาให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายไม่ว่าจะเป็นบริษัทมหาชน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36 โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มแต่อย่างใด หากยื่นแบบฯ และชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายออกไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบเพิ่มเติมของเดือนภาษีอื่น
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
Q1 : หากยื่นแบบ ภ.พ.40 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระภาษี ต้องชำระตามกำหนดเดิมหรือไม่
A1 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระภาษี โดยวันสิ้นสุดการชำระเงินที่ปรากฏใน Pay-in Slip เป็นกำหนดเวลาเดิม สามารถเข้าระบบ e-Filing และพิมพ์ใบ Pay-in Slip ใหม่ได้ โดยจะเป็นPay-in Slip ที่ระบุวันสิ้นสุดการชำระเงินตามเวลาที่ได้ขยายไป ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการประสงค์ที่จะชำระภาษีตามกำหนดเวลาเดิมก็สามารถกระทำได้
Q2 : แบบ ภ.ธ.40 ซึ่งได้รับการขยายไปถึงวันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2563 จะได้รับการเลื่อนออกไปเป็นวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 หรือไม่
A2 : สำหรับแบบ ภ.ธ.40 สามารถยื่นแบบฯ และชำระได้ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เนื่องจากวันที่ 23 และ 24 พฤษภาคม 2563 เป็นวันหยุดราชการ
Q3 : บริษัทมหาชนและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีหรือไม่
A3 : มาตรการนี้ขยายเวลาให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายไม่ว่าจะเป็นบริษัทมหาชน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.40 โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มแต่อย่างใด หากยื่นแบบฯ และชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายออกไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบเพิ่มเติมของเดือนภาษีอื่น
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
Q1 : การลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวเป็นการลดอัตราภาษีสำหรับกรณีใดบ้าง
A1 : มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศเป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตราร้อยละ 3 ให้เหลืออัตราร้อยละ 1.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินด้วยวิธีการใดก็ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563 และเหลืออัตราร้อยละ 2 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินด้วยระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยจะต้องเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ดังต่อไปนี้
1. การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม) ดังนี้
(1.1) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร
(1.2) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ และค่าแห่งลิขสิทธิ์อย่างอื่น
(1.3) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
(1.4) การจ่ายค่าจ้างทำของ
(1.5) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการให้บริการ
(1.6) การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
2. การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
(2.1) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
(2.2) การจ่ายค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) หรือมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
(2.3) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการให้บริการ
(2.4) การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
Q2 : เริ่มหัก 1.5% วันที่ 1 เมษายน 2563 เลยใช่ไหม
A2 : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตราร้อยละ 3 ให้เหลือร้อยละ 1.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563 อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 หากเป็นการหัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบ e-Withholding Tax จะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเหลือร้อยละ 2
Q3 : หลังเดือนตุลาคม ถ้าผู้หักไม่ใช้ระบบ e-Withholding Tax จะต้องถูกหักเท่าไหร่
A3 : การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วยวิธีการอื่นที่มิได้ผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 จะต้องใช้อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเดิมคือ อัตราร้อยละ 3
Q4 : ผู้รับจ้างจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ว่าจ้างใช้ระบบ e-Withholding Tax
A4 : ธนาคารจะแจ้งให้ผู้ถูกหักภาษีทราบว่า การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเป็นการหักผ่านระบบ e-Withholding Tax
Q5 : ถ้าผู้จ่ายเงิน จะหักค่าจ้างเรา 3% ผู้ถูกหักมีวิธีอย่างไรที่จะให้หักแค่ 2%
A5 : กรมสรรพากรจะส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศทราบอย่างทั่วถึง
Q6 : จะมีมาตรการส่งเสริมผู้ว่าจ้างให้สนใจเข้าระบบ e-Withholding Tax ด้วยหรือไม่
A6 : กรมสรรพากรอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการเพื่อส่งเสริมใช้ระบบ e-Withholding Tax
Q7 : บริษัทมหาชนและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีหรือไม่
A7 : มาตรการนี้ขยายเวลาให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายไม่ว่าจะเป็นบริษัทมหาชน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด.54 โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มแต่อย่างใด หากยื่นแบบฯ และชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายออกไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบเพิ่มเติมของเดือนภาษีอื่น
อากรแสตมป์
Q1 : บริษัทมหาชนและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีหรือไม่
A1 : มาตรการนี้ขยายเวลาให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายไม่ว่าจะเป็นบริษัทมหาชน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ต้องยื่นแบบ อ.ส.4, อ.ส.4ก และ อ.ส.4ข โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มแต่อย่างใด หากยื่นแบบฯ และชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายออกไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบเพิ่มเติมของเดือนภาษีอื่น
จำนวนผู้เยี่ยมชม