เมนูปิด

รุ่นที่ 53 วันที่ 8 พ.ย. 2565

ลำดับที่คำถามคำตอบ

1

 

1.1 หลังจากการปฐมนิเทศแล้วจะรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้เมื่อไหร่

1.2 ระยะเวลาในการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ในการรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรครั้งแรก ท่านสามารถรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้ทันที และท่านต้องมาให้ตัวอย่างลายมือชื่อสำหรับรับรองรายงานงบการเงินโดยเร็ว พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงเพื่อยืนยันตัวตนที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร ซ.พหลโยธิน7 ในวันและเวลาราชการ

 

2

 

2.1 การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร สามารถดำเนินการผ่านทางระบบไปรษณีย์ได้หรือไม่

2.2 การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้างสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้หรือไม่

การรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรครั้งแรก ท่านต้องมารับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรด้วยตนเอง เนื่องจากท่านต้องมาให้ตัวอย่างลายมือชื่อสำหรับรับรองรายงานงบการเงิน โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงเพื่อยืนยันตัวตนที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร ซ.พหลโยธิน7 ในวันและเวลาราชการ 

สำหรับการรับใบอนุญาตในครั้งถัดไป ท่านสามารถติดต่อขอรับใบอนุญาตฯ ด้วยตนเองหรือในกรณีไม่สามารถมารับใบอนุญาตฯ ด้วยตนเองได้ ท่านสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมารับแทนได้ โดยทำหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมทั้งแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจโดยรับรองสำเนาถูกต้อง ได้ที่ กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร ซ.พหลโยธิน7 ในวันและเวลาราชการ

 

3

 

ขอทราบขั้นตอนในการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร

 

ในการรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรครั้งแรก ให้ท่านนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงเพื่อยืนยันตัวตน ที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร ซ.พหลโยธิน7 ในวันและเวลาราชการ

 

4

 

ขอทราบขั้นตอนการเก็บตัวอย่างลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

 

ในการรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรครั้งแรก ท่านต้องให้ตัวอย่างลายมือชื่อสำหรับรับรองรายงานงบการเงินในคราวเดียวกัน  ที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร ซ.พหลโยธิน7 ในวันและเวลาราชการ

 

5

 

การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรมีค่าใช้จ่ายหรือไม่

 

ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

6

 

การลงลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องเป้นลายมือชื่อเดียวกับที่เคยใช้ในเอกสารอื่นๆ ที่เคยส่งให้กรมสรรพากรหรือไม่

 

ไม่ต้องเป็นลายมือชื่อเดียวกันกับที่เคยใช้ในเอกสารอื่นๆ ที่เคยส่งให้กรมสรรพากรแต่การให้ตัวอย่างลายมือชื่อใช้สำหรับลงลายมือชื่อในการรับรองรายงานงบการเงินเท่านั้น

 

7

 

หากมีความประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อ ต้องดำเนินการอย่างไร

 

ยื่นคำขอทั่วไป (บภ.03) เปลี่ยนแปลงตัวอย่างลายมือชื่อ ที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร ซ.พหลโยธิน7 ในวันและเวลาราชการ

 

8

 

การแจ้งชั่วโมงการอบรม หลังจากเข้ารับการอบรมแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไร

 

ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องแจ้งการเข้ารับการอบรมตามแบบแจ้งการเข้ารับการอบรม (บภ.06) ต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านผู้อำนวยการกองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ทางอินเตอร์เน็ต โอยให้แจ้งหลังจากการเข้ารับการอบรมแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะระบบต้องตรวจสอบกับทะเบียนรายชื่อผู้เข้ารับการอบรมที่องค์กรวิชาชีพบัญชีฯ แจ้งมา จึงจะปกรากฏข้อมูลการอบรมให้บันทึก

การอบรมฯ ในแต่ละปีต้องแจ้งการอบรมดังกล่าวผ่านการยื่นแบบ บภ.06 ทางอินเตอร์เน้ตให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตมีอายุครบทุกหนึ่งปี สำหรับปีที่ 5 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของใบอนุญาตให้แจ้งการอบรม พร้อมกับยื่นแบบคำขอต่อใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (บภ.04) ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นภายใน 3 เดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด

 

9

 

สามารถนับชั่วโมงการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร กับชั่วโมงการอบรมนักบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในหัวข้อวิชาที่เหมือนกันได้หรือไม่

 

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป กำหนดให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเข้ารับการอบรมความรู้ทางกฎหมายภาษีอากร และความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี ส่วนการนับชั่วโมงนักบัญชีอื่น ขอให้สอบถามการนับชั่วโมงจากหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยตรง

 

10

 

การอบรมให้ความรู้ที่จัดโดยกรมสรรพากร สามารถนับชั่วโมง TA ได้หรือไม่

 

กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานราชการ มิใช่องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานในการจัดอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามประกาศอธิบดีฯ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จึงไม่สามารถนับชั่วโมงอบรม TA ได้

 

11

 

ข้อมูลหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตให้จัดอบรมเก็บชั่วโมงของผู้สอบบัญชีภาษีอากร สามารถดูได้ตรงไหน

 

www.rd.go.th โดยคลิกไปที่ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี > หลักสูตรอบรม TA

 

12

 

ขอทราบช่วงระยะเวลาการอบรมเพื่อเก็บชั่วโมงการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร รุ่นที่ 53

 

www.rd.go.th โดยคลิกไปที่ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี > แจ้งแตือนกำหนดระยะเวลาการเข้าอบรมประจำปีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

 

วันที่ 23- 24 กุมภาพันธ์ 2546

ลำดับที่คำถามคำตอบ
1ห้างประกอบการขาดทุนทางบัญชี เจ้าหน้าที่กำกับดูแลให้ปรับปรุงบวกกลับรายการให้เป็นกำไรเพื่อมีภาษีชำระ TA ต้องรายงานข้อยกเว้นการปรับปรุงภาษีข้อ 4 หรือไม่ ห้างฯ สามารถปรับปรุงรายการดังกล่าวในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ได้ ซึ่งจะไม่กระทบต่องบการเงินของห้างฯ ดังนั้น เมื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้ทำการตรวจสอบงบการเงินของห้างฯ แล้วไม่พบข้อผิดพลาดก็ไม่ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพียงแต่บันทึกรายการที่เจ้าหน้าที่กำกับดูแลให้ปรับปรุงไว้ในกระดาษทำการ เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
2ถ้าผู้สอบรับตรวจลูกค้าหลายราย ซึ่งต้องทำการสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า แล้วขั้นตรวจนับชนกันหลายราย ผู้สอบต้องใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไร แล้วถ้าเข้าสังเกตการณ์ไม่ได้ต้องออกหน้ารายงานอย่างไรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 ได้กำหนดให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเลือกใช้วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกรณี โดยต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการสอบบัญชี หมวดรหัส 500 - 599 เรื่อง หลักฐานการสอบบัญชี ซึ่งวิธีการตรวจสอบที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเลือกใช้ในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของแต่ละกิจการ จะต้องรวมถึง การขอข้อมูลจากธนาคาร การขอยืนยันยอดลูกหนี้เจ้าหนี้ การขอยืนยันการออกใบกำกับภาษี การเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ และการตรวจสอบเอกสารสิทธิต่าง ๆ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถใช้วิธีการดังกล่าวได้ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องใช้วิธีการอื่นที่ให้ความเชื่อมั่นเช่นเดียวกันและอยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้ ดังนั้น การที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรรับงานหลายรายและวันที่ตรวจนับสินค้าของลูกค้าตรงกันหลายราย ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะถือเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ต้องทำการเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องใช้วิธีการตรวจสอบอื่นที่ให้ความเชื่อมั่นเช่นเดียวกันและอยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้ เช่น การเข้าตรวจนับด้วยตนเองการให้ผู้ช่วยของผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือแทน เป็นต้น และเมื่อใช้วิธีการดังกล่าวแล้วไม่พบข้อผิดพลาดก็ไม่ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีเพียงแต่ต้องบันทึกไว้ในกระดาษทำการเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
3กรณีห้างไม่ได้ประกอบกิจการ ต้องระบุไว้ในรายงานหรือไม่ถึงแม้ห้างจะไม่ได้ประกอบกิจการ แต่จะต้องมีงบการเงินซึ่งประกอบด้วยรายการบัญชีต่างๆ ดังนั้นผู้สอบบัญชีภาษีอากรก็ต้องทำการตรวจสอบรายการบัญชีที่ปรากฎในงบการเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่พบข้อผิดพลาดก็ไม่ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี 
4ถ้าตรวจสอบห้างฯ ที่มีการส่งออกสินค้าเราต้องขอข้อมูลจากกรมศุลกากรหรือไม่ เพื่อแสดงว่ายอดขายบันทึกครบถ้วนการขอข้อมูลการส่งออกจากกรมศุลกากรเพื่อตรวจสอบยอดขายส่งออกของห้างฯ ว่าครบถ้วนหรือไม่เป็นวิธีการตรวจสอบอย่างหนึ่งที่เหมาะสมที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรสามารถกระทำได้ แต่เนื่องจากข้อมูลส่งออกของห้างฯ เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะไปขอข้อมูลดังกล่าวที่กรมศุลกากรด้วยตนเองไม่ได้ ต้องให้ห้างฯ ทำหนังสือมอบอำนาจแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้กระทำการขอข้อมูลดังกล่าวแทน
5การขอยืนยันใบกำกับภาษีซื้อ ถ้าไม่ตอบกลับจะมีวิธีใดต้องปฏิบัติบ้าง เพื่อให้เกิดความแน่ใจกรณีขอยืนยันใบกำกับภาษีซื้อแล้วไม่ได้รับคำตอบ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องใช้วิธีการตรวจสอบอื่นที่ให้ความเชื่อมั่นเช่นเดียวกันและอยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้ เช่น ไปดูสถานประกอบการของผู้ออกใบกำกับภาษีซื้อว่ามีจริงและประกอบกิจการที่ได้ขายสินค้าประเภทเดียวกันกับที่ปรากฎในใบกำกับภาษีซื้อนั้นหรือไม่ หรือตรวจการรับสินค้าว่าได้รับสินค้าตามใบกำกับภาษีซื้อจริง หรือตรวจการชำระเงินตามใบกำกับภาษีว่าได้มีการจ่ายจริง เป็นต้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวอาจจะไม่ให้ความเชื่อมั่นเช่นเดียวกันกับการขอยืนยันใบกำกับภาษี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องใช้ดุลยพินิจพิจารณาผลการตรวจสอบว่าท่านมั่นใจเพียงใด หากท่านมั่นใจก็ สรุปผลไว้ในกระดาษทำการและไม่ต้องออกรายงานโดยมีข้อยกเว้น
6ในกรณีที่เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ พบว่ามีผลต่าง 10-15 % ธุรกิจประกอบ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ต้องรายงานหรือไม่ ถ้ารายงานต้องรายงานในข้อใด และมีเกณฑ์ ตัดสินใจว่าแต่ละธุรกิจควรจะกี่เปอร์เซ็นต์กรมสรรพากรมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนว่าข้อผิดพลาดที่ตรวจพบจะต้องเป็นร้อยละเท่าใดที่จะต้องนำมารายงานเป็นข้อยกเว้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ จะต้องกำหนดระดับความมีสาระสำคัญที่ตนยอมรับได้ซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งจำนวนเงิน(ปริมาณ) และลักษณะ(คุณภาพ) หากเห็นว่าข้อผิดพลาดที่ตรวจพบมีสาระสำคัญที่ส่งผลกระทบ ต่องบการเงินทั้งด้านบัญชีและภาษีอากร ผู้สอบบัญชีภาษีอากรก็ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
7การยืนยันใบกำกับภาษีซื้อ 20 รายการ ถ้าหากห้างมีคู่ค้าเจ้าหนี้แค่ 8 ราย ต้องทำอย่างไรผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องขอยืนยันใบกำกับภาษีซื้อเท่ากับจำนวนรายที่มี คือ จำนวน 8 ราย รายละ 1 ฉบับ และเป็นใบกำกับภาษีฉบับที่มีมูลค่าสูงสุด
8ห้างส่วนใหญ่ใช้บ้านเป็นสถานประกอบการ จะต้องปันส่วนค่าใช้จ่ายอย่างไรถึงเหมาะสม เช่น ค่าไฟผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องไปดูสถานประกอบการว่ามีสัดส่วนการใช้เนื้อที่และสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าระหว่างกิจการกับที่พักอาศัยของหุ้นส่วนมีสัดส่วนอย่างไร ผู้สอบก็สามารถปันส่วนตามสัดส่วนดังกล่าวก็ได้
9ลักษณะธุรกิจ ไม่มีเอกสาร เป็นปกติ เช่น ร้านอาหาร ซื้อสินค้าจากตลาดสดควรแก้ไขอย่างไร ให้ลงเป็นต้นทุนได้เท่าไรจึงเหมาะสมกรณีไม่มีเอกสารหลักฐานจากการซื้อสินค้าในตลาดสดเพื่อใช้ประกอบการบันทึกบัญชี ผู้สอบ บัญชีภาษีอากรควรแนะนำให้กิจการดำเนินการจัดทำหลักฐานการซื้อสินค้าจากตลาดสดขึ้นโดย กิจการจัดทำใบสำคัญจ่ายขึ้นและให้ผู้มีอำนาจอนุมัติลงนามในใบสำคัญจ่ายพร้อมทั้งผู้ที่รับเงิน (ซึ่งในที่นี้อาจหมายถึงผู้ที่จะต้องไปซื้อสินค้าที่ตลาดสด) ลงลายมือชื่อในใบสำคัญจ่ายดังกล่าวด้วย และให้ผู้ที่ขายสินค้าออกบิลเงินสดโดยระบุ วัน เดือน ปี ชื่อที่อยู่ รายการสินค้า จำนวนเงิน และลายมือชื่อผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับเงิน หรือหากผู้ขายสินค้าไม่ออกบิลเงินสดให้กิจการอาจออกบิลเงินสดโดยมีรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นแล้วให้ผู้ขายสินค้าลงลายมือชื่อรับเงินในบิลเงินสดก็ได้ สำหรับกรณีการพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนของสินค้าดังกล่าวเนื่องจากกรมสรรพากร มิได้มีการกำหนดอัตราที่แน่นอนไว้ ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรควรใช้ดุลยพินิจพิจารณาถึง ความเหมาะสมโดยเทียบเคียงอัตรกำไรขั้นต้นของกิจการกับกิจการอื่นที่ประกอบกิจการ ประเภทเดียวกัน 
10ความไม่แน่นอนเปิดเผยแล้วในงบฯ TA จะแสดงเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีข้อใดความไม่แน่นอนเมื่อได้เปิดเผยไว้ในงบการเงินแล้ว ก็ไม่ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
11รายจ่ายที่ไม่มีเอกสารประกอบ เช่น ค่าการกุศล จะแสดงเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีข้อใดกรณีดังกล่าวอาจพิจารณาได้ว่ารายการดังกล่าวปรากฎในบัญชีแต่ไม่มีเอกสารประกอบรายการ บัญชี ดังนั้นเมื่อกิจการไม่ยอมปรับปรุงให้ถูกต้องผู้สอบบัญชีภาษีอากรก็ต้องรายงานเป็น ข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีข้อ 1 (ไม่มีเอกสารประกอบรายการไม่ สามารถตรวจได้ว่ารายการบัญชีตรงกับเอกสารหรือไม่) ข้อ 2 (ไม่มีเอกสารให้ตรวจทำให้ไม่ สามารถตรวจได้ว่างบการเงินได้จัดทำตามหลักการบัญชีหรือไม่) และ ข้อ 4 (กระทบกำไรสุทธิ/ ขาดทุนสุทธิในการเสียภาษี)
12กิจการไม่ทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก จะแสดงเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีข้อใดเนื่องจากตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มิได้กำหนดให้ห้างฯ ต้องจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ดังนั้นเมื่อกิจการไม่จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจึงไม่สามารถที่จะตรวจสอบยอดคงเหลือของเงินฝากจากงบพิสูจน์ยอดเงินฝากดังกล่าวได้ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรสามารถดำเนินการจัดทำขึ้นเองเพื่อแสดงถึงยอดคงเหลือของเงินฝากธนาคารที่ได้จากการตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับงบการเงินหรือไม่ หากไม่พบข้อผิดพลาดผู้สอบบัญชีภาษีอากรก็ไม่ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพียงแต่ต้องบันทึกรายละเอียดการตรวจสอบดังกล่าวไว้ในกระดาษทำการเพื่อเป็น หลักฐานการตรวจสอบ 
13ปีก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรท่านอื่น ผลปรากฎว่า ยอดยกมาไม่ถูกต้องจะต้อง รายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีข้อใดกรณีตรวจพบว่ายอดยกมาไม่ถูกต้อง ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเสนอให้กิจการทำการปรับปรุงหากกิจการได้ปรับปรุงให้ถูกต้องแล้วก็ไม่ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบ และรับรองบัญชี แต่ถ้ากิจการไม่ยอมปรับปรุงผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องพิจารณาว่าข้อผิดพลาด ดังกล่าวมีผลกระทบต่อรายงานในข้อใดบ้างก็ให้รายงานเป็นข้อยกเว้นในข้อนั้น เช่น ข้อผิดพลาดจากยอดยกมากดังกล่าวเป็นยอดที่เกิดจากรายการในบัญชีไม่ตรงกับเอกสารประกอบการลงบัญชี ก็ต้องรายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ข้อ 1 และข้อผิดพลาดดังกล่าวมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ ก็ให้รายงานเป็นข้อยกเว้น ไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีในข้อ 4 ด้วย เป็นต้น
14 มีการกำหนดราคาค่าตรวจสอบเป็นบรรทัดฐานหรือไม่ ถ้าจะเสนอราคาต่ำเกินไป ถือว่าผิดจรรยาบรรณกับเพื่อนร่วมวิชาชีพหรือไม่การกำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนไม่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานขึ้นอยู่กับข้อตกลง ระหว่างผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีกับกิจการ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กำหนดค่าธรรมเนียมหรือ ค่าตอบแทนโดยถือเอาอัตราสูงต่ำตามยอดเงินหรือของมูลค่าทรัพย์สินใดที่ตนตรวจสอบและรับรองบัญชี หรือมีส่วนในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเป็นเกณฑ์ สำหรับการที่ผู้ตรวจสอบ และรับรองบัญชีเสนอค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนในอัตราที่ต่ำเกินไปนั้นสามารถกระทำได้ หากไม่เป็นการตัดราคาเพื่อแย่งงานจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีรายอื่นถือว่าเป็นการปฏิบัติ ที่ผิดจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
15ถ้ารับงานสอบบัญชีจากกิจการที่มีผู้สอบบัญชีอื่นในปีก่อน ต้องทำหนังสือสอบถามผู้สอบบัญชี คนเดิมตามมรรยาทหรือไม่ในกรณีรับงานสอบบัญชีจากกิจการที่ปีก่อนผู้สอบบัญชีอื่นเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีผู้สอบบัญชีภาษีอากรอาจจะติดต่อกับผู้สอบบัญชีเดิมในกรณีที่ต้องการทราบว่ามีเหตุผลทางมรรยาทของวิชาชีพประการใดหรือไม่ที่ตนควรนำมาพิจารณาในการรับงาน

 

ปรับปรุงล่าสุด: 07-01-2023