เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./932
วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเบี้ยปรับจากการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/5(6) และมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท ค. ประกอบธุรกิจก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ จดทะเบียนนิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 และ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 หลังจากจดทะเบียนไม่มีงานรับจ้างก่อสร้างบ้าน จึงได้ ประกอบกิจการสร้างบ้านขายโดยก่อสร้างบ้านบนที่ดินของบุคคลอื่น บริษัทฯ นำค่าวัสดุก่อสร้างและค่าจ้างแรงงาน บันทึกในบัญชีค่าก่อสร้างและภาษีซื้อสำหรับค่าวัสดุก่อสร้างและค่าใช้จ่ายอื่นที่บริษัทฯ จ่าย ได้แสดงในแบบแสดง รายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ตลอดมา ต่อมา ในปี 2549 บริษัทฯ ทราบว่า การขายบ้านไม่ใช่การรับจ้างก่อสร้าง จึงได้ปรับปรุงรายการภาษีซื้อดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายและต้นทุนขายและแก้ไขแบบ ภ.พ. 30 เพื่อปรับปรุงเครดิตภาษี จำนวน 253,753.15 บาท ซึ่งยังไม่ได้หักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ เห็นว่า การแสดง รายการภาษีซื้อเพื่อขอเครดิตภาษีในแบบ ภ.พ. 30 โดยไม่ได้หักออกจากภาษีขายไม่ต้องเสียเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
แนววินิจฉัย          กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการขายบ้านซึ่งก่อสร้างบนที่ดินของบุคคลอื่น นำภาษีซื้อจาก การก่อสร้างบ้านที่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4) ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ไปแสดงไว้ในแบบแสดง รายการเป็นภาษีซื้อแต่ละเดือนภาษี แม้จะยังไม่ได้นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายก็ตาม แต่เป็นการยื่นแบบ ภ.พ. 30 โดยแสดงรายการภาษีซื้อเกินไป ซึ่งเป็นกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็น เหตุให้จำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกิน บริษัทฯ ต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไปนั้นตาม มาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 71/35633

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020