เลขที่หนังสือ | : กค 0702(กม.08)/481 |
วันที่ | : 8 เมษายน 2551 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารของสถานเอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่การทูต |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) |
ข้อหารือ | กรณีที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ประจำประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร สถานเอกอัครราชทูตฯ และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยที่ได้รับหรือไม่ และหากสถานเอกอัครราชทูตฯ และเจ้าหน้าที่สถาน เอกอัครราชทูตฯ ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ จะมีสิทธิขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ได้หรือไม่ | แนววินิจฉัย | เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามบทนิยาม ของคำว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากดอกเบี้ยที่ได้รับ และธนาคาร ผู้จ่ายเงินได้ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด ในกรณีที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ถูกหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ สถานเอกอัครราชทูตฯ มีสิทธิขอคืนได้ภายใน 3 ปี ตามมาตรา 27 ตรี แห่ง ประมวลรัษฎากร กรณีเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยนั้น เจ้าหน้าที่ ดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทยตามมาตรา 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เฉพาะเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งการงานของตนเท่านั้น สำหรับดอกเบี้ย เงินฝากธนาคารที่เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับจากการนำเงินไปฝากธนาคาร มิใช่เป็น เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งการงานของตน บุคคลดังกล่าวจึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวแต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 71/35786 |