เลขที่หนังสือ | : กค 0702/3397 |
วันที่ | : 19 มิถุนายน 2551 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 77/1(5) มาตรา 79/3 มาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | 1. กรณีมีเงินได้จากการรับจ้างทำของรวมจำนวน 1,700,000 บาท ต่อมามีรายได้จากการรับจ้างทำของ เพิ่มขึ้นอีก โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 200,000 บาท รวมเป็นเงินได้รับทั้งปี 1,900,000 บาท นาย ธ. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดจำนวนใด 2. กรณีมีสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนรวม 2,000,000 บาท แต่ได้รับเงินเป็นงวดในปีแรก รับเงินจำนวน 1,500,000 บาท ปีต่อมาได้รับอีก 500,000 บาท นาย ธ. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดจำนวนใด | แนววินิจฉัย | 1. กรณีนาย ธ. ประกอบกิจการรับจ้างทำของ เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1(5) แห่ง ประมวลรัษฎากร หากนาย ธ. มีมูลค่าของฐานภาษีจากการประกอบกิจการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกิน 1,800,000 บาทต่อปี และมีหน้าที่ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 1,800,000 บาท ภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีนาย ธ. มีสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนรวม 2,000,000 บาท แต่ได้รับเงินเป็นงวด ในปีแรกรับเงินจำนวน 1,500,000 บาท ปีต่อมาได้รับอีก 500,000 บาท นั้น เกณฑ์การคำนวณวันที่มูลค่าของ ฐานภาษีสำหรับการให้บริการเกิน 1,800,000 บาท ต่อปีหรือไม่ ต้องถือมูลค่าของฐานภาษีในวันที่ความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 79/3 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นหากนาย ธ. มีมูลค่าของฐานภาษี ในปีนั้นๆ ไม่เกิน 1,800,000 บาท จึงยังมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 นาย ธ. จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม |
เลขตู้ | : 71/35951 |