เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/3825
วันที่: 4 กรกฎาคม 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          การหักลดหย่อน ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ ให้สามารถหักค่าลดหย่อนได้คนละสามหมื่นบาท โดยบิดามารดาดังกล่าวต้องมีอายุหกสิบปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เพียงพอ แก่การยังชีพและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ นั้น หากบิดามารดาของผู้มีเงินได้มีเงินได้เกินสามหมื่นบาท และเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ มีสิทธินำค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดังกล่าวมาหักลดหย่อนหรือไม่ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)ฯ ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 กำหนดมิให้หักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาที่มีเงินได้พึงประเมินใน ปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกินสามหมื่นบาทขึ้นไป
แนววินิจฉัย          ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดู บิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละสามหมื่นบาท โดยบุคคลดังกล่าว ต้องมีอายุหกสิบปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ได้มี ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)ฯ ลงวันที่14 มกราคม พ.ศ. 2548 กำหนดให้บิดา มารดาดังกล่าว ต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกินสามหมื่นบาท โดยมิได้กำหนดว่า เงินได้พึง ประเมินนั้นจะต้องมิใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ดังเช่น มาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากบิดามารดา ที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ มีเงินได้เกินสามหมื่นบาทขึ้นไป และไม่ว่าเงินได้นั้นจะได้รับยกเว้นภาษี หรือไม่ ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินำค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดังกล่าว มาหักลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา
เลขตู้: 71/35982

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020