เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/3910
วันที่: 9 กรกฎาคม 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินสะสมและดอกเบี้ยพร้อมเงินสมทบให้แก่พนักงานที่ลาออกและเสียชีวิต
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ ประกอบกิจการนายหน้าประกันภัย นายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย บริษัทฯ มีระเบียบเงินสะสมของ พนักงานพ.ศ.2521 (ระเบียบเงินสะสมฯ) จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านสวัสดิการของพนักงาน โดยบริษัทฯ จะหักเงินเดือน หรือค่าจ้างไว้ในอัตราร้อยละ 7 ทุกครั้งของการจ่ายเงินเดือนงวดปลายเดือน เพื่อเก็บไว้เป็นเงินสะสมของพนักงานแต่ละคน และบริษัทฯ จะจัดเงินสมทบให้กับพนักงานเท่ากับเงินสะสมที่บริษัทฯ ได้หักไว้ เงินสะสมและเงินสมทบดังกล่าว พนักงาน จะเบิกได้ต่อเมื่อออกจากงานเท่านั้น ซึ่งจะจ่ายให้ตามระยะเวลาที่เข้าเป็นสมาชิกและในอัตราที่กำหนดตามระเบียบเงิน สะสมฯ นอกจากจะมีสิทธิได้รับเงินสมทบแล้ว บริษัทฯ จะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปีของเงินสะสม และจ่ายให้แก่ พนักงานที่ลาออกหลังจากทำงานครบ 1 ปี เงินสะสมของพนักงานจะอยู่ในบัญชีเงินสะสมส่วนของพนักงาน โดยบริษัทฯ จะนำไปใช้หมุนเวียนภายในกิจการและนำไปลงทุน ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 บริษัทฯ มีการจ่ายคืนเงินสะสมและ ดอกเบี้ยพร้อมเงินสมทบจากบริษัทฯ ให้แก่พนักงานที่ลาออกและเสียชีวิตจำนวน 4 คน จำนวน 3,793,926.06 บาท
          จึงขอหารือ ดังนี้
          1. ระเบียบเงินสะสมฯ เข้าลักษณะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎกระทรวงฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่
          2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินสะสมและดอกเบี้ยพร้อมเงินสมทบให้แก่พนักงานที่ลาออกและเสียชีวิตจำนวน 4 คน ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 บริษัทฯ สามารถนำจำนวนเงินดังกล่าว มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ จัดตั้งระเบียบเงินสะสมฯ เพื่อช่วยเหลือในด้านสวัสดิการให้แก่พนักงานของบริษัทฯ ระเบียบดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎกระทรวงฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533)ฯ เนื่องจากมิใช่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530
          2. กรณีบริษัทฯ จ่ายคืนเงินสะสมและดอกเบี้ยพร้อมเงินสมทบ ให้แก่พนักงานที่ลาออกและเสียชีวิตจำนวน 4 คน ใน รอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 บริษัทฯ มีสิทธินำเงินที่จ่ายนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 71/35993

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020