เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./4136
วันที่: 21 กรกฎาคม 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการก่อสร้างอาคารในเขตปลอดอากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(14)(ก) และมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. บริษัท ท. จำกัด เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ รับเหมาก่อสร้าง บริษัทฯ ได้รับอนุมัติเป็นผู้จัดตั้งเขตปลอดอากร จากกรมศุลกากร ตามใบอนุญาตเป็นผู้จัดตั้งเขต ปลอดอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2543 บริษัทฯ ประกอบกิจการ ดังนี้
               (1) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
               (2) ธุรกิจให้เช่าและบริการพื้นที่เพื่อ/สำหรับธุรกิจทางด้านโลจิสติคส์ โดยเปิดเป็นสวนโลจิสติคส์
               (3) รับเหมาก่อสร้างคลังสินค้า เพื่อให้เช่า/ขาย ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ
          2. บริษัทฯ ได้ดำเนินการเปิดโครงการสวนโลจิสติคส์ (Logistics Park) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และ ได้รับการสนับสนุนโครงการจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการยกเว้นภาษีจากการลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งในโครงการดังกล่าวบริษัทฯ ได้มีการจัดตั้งเขตปลอดอากร เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุนโดยมีพื้นที่ประมาณ 82 ไร่ จากพื้นที่โครงการทั้งหมด 406 ไร่ ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่เขต ปลอดอากร โดยบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง ซึ่งตามประกาศกรมศุลกากรที่ 87/2546 หมวดที่ 3 ข้อ 2.2 ในเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อนำเข้าไป ในเขตปลอดอากร บริษัทฯ ได้มีการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งนำวัสดุก่อสร้างเพื่อใช้ในการก่อสร้างรั้วอาคารสิ่งปลูกสร้าง ถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ ในเขตปลอดอากร ซึ่งการนำเข้าวัสดุจากในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร นั้น จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามประกาศข้างต้น
          บริษัทฯ จึงขอหารือดังนี้
          1. บริษัทฯ อยู่ระหว่างการประกาศเป็นเขตปลอดอากร แต่ได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากรให้เป็นผู้จัดตั้งเขตปลอด อากรแล้วนั้น รายการค่าวัสดุก่อสร้างที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างรั้ว และอาคารสำนักงานในเบื้องต้นในเขตปลอด อากร บริษัทฯ สามารถขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่ หากวัสดุดังกล่าวไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากร และหากได้มีการทำพิธีการ ผ่านทางศุลกากรได้บริษัทคู่ค้าออกใบกำกับภาษีโดยใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ได้หรือไม่
          2. กรณีบริษัทฯ สั่งซื้อแผ่นปิดหลังคาเพื่อนำมาใช้ในการทำหลังคาคลังสินค้าในเขตปลอดอากร ซึ่งบริษัทคู่ค้าได้ แยกค่าวัสดุหลังคา และค่าแรงงานติดตั้งออกจากกัน จะถือเป็นการขายสินค้าพร้อมติดตั้งให้กับบริษัทฯ หรือไม่ (แผ่น ปิดหลังคาดังกล่าว บริษัทฯ ไม่สามารถกระทำการเองได้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทคู่ค้า)
          3. กรณีบริษัทฯ ได้รับการประกาศเป็นเขตปลอดอากร โดยมีสำนักงานในการดำเนินพิธีการตรวจปล่อยสินค้าวัสดุตามประกาศกรมศุลกากรที่ 87/2546 นั้น บริษัทคู่ค้าสามารถออกใบกำกับภาษีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 เพื่อแนบเอกสารประกอบพิธีการนำเข้าในเขตปลอดอากรได้หรือไม่ หากไม่ได้มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรซึ่งอยู่ในระหว่างการ ก่อสร้าง โดยบริษัทฯ จะซื้อวัสดุก่อสร้างจากผู้ขายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในราชอาณาจักรเพื่อใช้ก่อสร้างใน เขตปลอดอากรดังกล่าว หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำวัสดุก่อสร้างเฉพาะที่ต้องเสียอากรขาออก หรือ ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เข้าไปในเขตปลอดอากร โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 125)ฯ ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545 การนำวัสดุก่อสร้างเข้าไปในเขตปลอดอากรดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการส่งออก บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินพิธีการศุลกากรย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(14)(ก) และมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบการที่ขายวัสดุก่อสร้างให้แก่ บริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษี และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 82/4 และ มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากภาษีซื้อดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อจากการซื้อวัสดุก่อสร้างได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีบริษัทฯ สั่งซื้อแผ่นปิดหลังคาเพื่อนำมาใช้ในการทำหลังคาคลังสินค้าในเขตปลอดอากร นั้น หากผู้ประกอบการ ที่ขายแผ่นปิดหลังคาดังกล่าวประกอบกิจการขายแผ่นปิดหลังคาเป็นปกติธุระ และให้บริการติดตั้งด้วย โดยการซื้อแผ่น ปิดหลังคานั้น บริษัทฯ มุ่งที่จะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ กรณีดังกล่าวผู้ประกอบการที่ขายแผ่นปิดหลังคาจะแยกค่าวัสดุ หลังคา และค่าบริการติดตั้งออกจากกันได้ โดยค่าบริการติดตั้งที่แยกออกจากราคาแผ่นปิดหลังคา เข้าลักษณะเป็นเงินได้ จากการรับจ้างทำของ บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ของ ค่าบริการติดตั้ง ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้: 71/36019

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020