เลขที่หนังสือ | : กค 0702/5437 |
วันที่ | : 29 สิงหาคม 2551 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำภาษีในต่างประเทศมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | บริษัท อ. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสาขาในประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องมือขุดเจาะหาน้ำมัน และให้บริการให้คำแนะนำด้าน เทคนิคในการขุดเจาะน้ำมัน ได้หารือเกี่ยวกับการนำภาษีเงินได้ในต่างประเทศมาหักเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า สาขาในประเทศไทยได้จำหน่าย สินค้าและให้บริการในประเทศมาเลเซียแก่บริษัท ฮ. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ มาเลเซีย โดยแยกค่าสินค้า และค่าบริการออกจากกัน เมื่อบริษัท อ. เรียกเก็บเงินค่าขาย สินค้าและค่าบริการ โดยได้ออกใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี บริษัท ฮ. ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายของประเทศมาเลเซียในอัตราร้อยละ 10 ของค่าบริการ จึงขอทราบว่า บริษัท อ. จะนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ บริษัท ฮ. ได้หักไว้มาเป็นเครดิตหรือถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานสาขา เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยได้หรือไม่ | แนววินิจฉัย | กรณีที่เงินได้จากการขายสินค้าและให้บริการแก่บริษัท ฮ. เป็นเงินได้จากกิจการหรือ เนื่องจากการประกอบกิจการของสาขาของบริษัท อ. ในประเทศไทย สาขาของบริษัท อ. มีหน้าที่ต้องนำเงินได้นั้น มารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และหาก ภาษีเงินได้ที่บริษัท ฮ. หักไว้ตามกฎหมายของประเทศมาเลเซียนั้น มีลักษณะเป็นภาระ สุดท้าย (กล่าวคือ สาขาของบริษัท อ. ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศมาเลเซีย สำหรับเงินได้ดังกล่าวอีก) และเป็นการหักภาษีตามหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาระหว่าง ประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศมาเลเซียเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (หากมี) สาขาของ บริษัท อ. มีสิทธินำภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวล รัษฎากร แต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 71/36124 |