เลขที่หนังสือ | : กค 0702/พ./5072 |
วันที่ | : 19 สิงหาคม 2551 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้เนื่องจากการคืนสินค้า |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 82/10(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | นางสาว ก. ได้ซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมจากบริษัทฯ เป็นมูลค่าสินค้า 51,953.27 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3,636.73 บาท รวมเป็นเงิน 55,590 บาท โดยชำระเป็น เงินสด จำนวน 10,590 บาท และชำระผ่านบัตรเครดิตจำนวน 45,000 บาท ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2551 นางสาว ก. ได้นำสินค้าดังกล่าวไปคืนบริษัทฯ และบอกเลิกสัญญาซื้อขาย เนื่องจากนางสาว ก. ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วเกิดอาการแพ้เป็นอย่างมาก พนักงานของ บริษัทฯ ได้รับคืนสินค้าไว้ บริษัทฯ ได้ส่งโทรสารแจ้งจำนวนเงินที่นางสาว ก. ต้องชำระเป็น ค่าสินค้าที่ใช้ไปบางส่วน ค่าธรรมเนียม และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 3,636.73 บาท โดยบริษัทฯ อ้างว่า เป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ต้องชำระเนื่องจากมีการขายสินค้าจากยอดขาย 55,590 บาท ซึ่งนางสาว ก. เห็นว่าการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนดังกล่าวเป็นการเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำ จึงขอทราบว่าบริษัทฯ มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวได้หรือไม่ | แนววินิจฉัย | กรณีมีการคืนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนและ ผู้ซื้อสินค้า ที่ได้กระทำภายในเวลาอันสมควร ตามข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่องกำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1) (2) (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2542 ถือเป็นเหตุการณ์ที่จะออกใบลดหนี้ ได้ตามมาตรา 82/10(3) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้ามีสิทธิ ออกใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ตามมาตรา 86/10 แห่ง ประมวลรัษฎากร และมีสิทธินำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าที่ลดลงนั้นมาหักออกจาก ภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ ดังนั้น หากเป็นการคืน สินค้าตามข้อตกลงทางการค้าดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิออกใบลดหนี้ให้แก่นางสาว ก. ในเดือน ภาษีที่ได้รับคืนสินค้า โดยการออกใบลดหนี้ดังกล่าว ให้บริษัทฯ ออกใบลดหนี้ได้ตามมูลค่าของ สินค้าที่ได้รับคืน จึงไม่มีกรณีที่บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก นางสาว ก. อีกแต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 71/36096 |