เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./4623
วันที่: 4 สิงหาคม 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าเข้าและออกเขตปลอดอากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(12) มาตรา 78 มาตรา 80 มาตรา 83/9 มาตรา 86 และมาตรรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. บริษัทฯ เช่าพื้นที่เก็บสินค้าของบริษัท ล. ซึ่งประกอบกิจการอุตสาหกรรมประเภท โรงพักและกระจายสินค้า ในเขตปลอดอากรในนิคมอุตสาหกรรม (EPZ) โดยจ่ายค่าบริการ เป็นรายเดือน และค่าบริการในการผ่านพิธีการเข้า-ออกเป็นครั้ง ๆ ตามรายการที่เกิดขึ้น
          2. บริษัทฯ ได้ซื้อสินค้าจากบริษัทที่มีโรงงานตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร (EPZ) บางบริษัทอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนและบางบริษัทอยู่นอกเขตทั้งหมด เงื่อนไขการซื้อสินค้า จากบริษัทผู้ขาย คือ ต้องส่งสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากรเพื่อผ่านพิธีการส่งออก เนื่องจาก บริษัทผู้ขายเหล่านั้นได้รับ BOI ดังตัวอย่างต่อไปนี้
               2.1 บริษัทฯ ซื้อสินค้าจากบริษัท ย. ตั้งอยู่ที่เขตบางนา กรุงเทพฯ บริษัทฯ ให้บริษัท ย. ส่งสินค้าไปที่ บริษัท ล. ซึ่งบริษัทฯ เช่าพื้นที่ไว้ โดยบริษัท ย. ต้องทำเอกสาร ผ่านพิธีการส่งออกสินค้าเข้าไปในคลังสินค้า บริษัท ล. ใบขนสินค้าขาออกเป็นประเภทคลัง สินค้าทัณฑ์บน บางชุดเป็นประเภทใบขนสินค้าขาออกทั่วไป บางชุดเป็นใบขนสินค้าประเภท ส่งเสริมการลงทุน และออก Invoice Vat อัตราร้อยละ 0 ให้บริษัทฯ ชำระค่าสินค้าตาม Invoice นั้น
               2.2 บริษัทฯ ซื้อสินค้าจากบริษัท ซ.ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมบางกระดี่ ปทุมธานี บริษัทฯ ให้บริษัท ซ. ส่งสินค้าไปที่ บริษัท ล. จำกัด ซึ่งบริษัทฯ เช่าพื้นที่ไว้ โดยบริษัท ซ. ต้องทำเอกสารผ่านพิธีการส่งออกสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าของบริษัท ล. ใบขนสินค้าขาออกเป็นประเภทส่งเสริมการลงทุนบางชุด เป็นประเภท ใบขนสินค้าขา ออกทั่วไปและออก Invoice Vat อัตราร้อยละ 0 ให้บริษัทฯ ชำระค่าสินค้าตาม Invoice นั้น
               2.3 บริษัทฯ ซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมเวลโกลด์ บริษัทฯ ให้บริษัท ม. ส่งสินค้าไปที่ บริษัท ล. ซึ่งบริษัทฯ เช่าพื้นที่ไว้ โดยบริษัท ม. ต้อง ทำเอกสารผ่านพิธีการส่งออกสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าของบริษัท ล. ใบขนสินค้าขาออก เป็นประเภท ส่งเสริมการลงทุนและออก Invoice Vat อัตราร้อยละ 0 ให้บริษัทฯ บริษัทฯ ชำระค่าสินค้าตาม Invoice นั้น
               2.4 ต่อมาบริษัทฯ นำสินค้าดังกล่าวออกจากคลังบริษัท ล. มาไว้ที่บริษัทฯ โดยต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7.0 พร้อมอากรขาเข้า ให้กับกรมศุลกากร
          บริษัทฯ หารือว่า
          1. ในกรณีการซื้อสินค้าตามตัวอย่างข้อ 2.1 2.2 และ 2.3 บริษัทผู้ขายสินค้า จะต้องออกใบกำกับภาษีอัตราร้อยละ 0 ให้บริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่
          2. หากไม่ถูกต้อง แสดงว่า บริษัทผู้ขายสินค้าให้บริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษี อัตราร้อยละ 7.0 ให้บริษัทฯ เมื่อบริษัทฯ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัทผู้ขายแล้ว บริษัทฯ ยังต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้นตอนนำสินค้าออกจากคลังสินค้า บริษัท ล. อีก เท่ากับว่า บริษัทฯ ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดร้อยละ 14 ในขั้นตอนการซื้อสินค้าคราวเดียวใช่ หรือไม่ ใบกำกับภาษีที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้ง บริษัทฯ สามารถนำมาเครดิตภาษีได้ ไม่ต้องห้าม ใช่หรือไม่
          3. ทางปฏิบัติที่ถูกต้องของการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการซื้อสินค้าในลักษณะนี้ ต้องปฏิบัติอย่างไร
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ ได้สั่งซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ขาย (บริษัท ย. บริษัท ซ. หรือบริษัท ซ.) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศไทย โดยให้บริษัทผู้ขายส่งสินค้าเข้าไปในคลัง สินค้าของบริษัท ล. ซึ่งอยู่ในเขตปลอดอากรในนิคมอุตสาหกรรม เข้าลักษณะเป็นการขาย สินค้าในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวล รัษฎากร ดังนั้น บริษัทผู้ขายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนจึงมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับ ภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบให้แก่บริษัทฯ เมื่อความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 78 มาตรา 80 และมาตรา 86 แห่ง ประมวลรัษฎากร และเมื่อบริษัทผู้ขายส่งสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยทำพิธีการศุลกากร นำเข้าสินค้า แม้ใบขนสินค้าขาเข้าจะเป็นชื่อของบริษัทผู้ขายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ผู้ที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ได้แก่ บริษัทฯ เนื่องจากถือว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำเข้าสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากรและบริษัทผู้ขายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ขายสินค้าดังกล่าวในราชอาณาจักร
          2. กรณีบริษัทฯ นำสินค้าออกจากคลังสินค้าของบริษัท ล. ซึ่งตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร ในนิคมอุตสาหกรรม โดยทำพิธีการศุลกากรในนามของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นการนำสินค้า ที่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขต ปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออก จึงเป็นการนำเข้าตามมาตรา 77/1(12) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้นำเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นใบขนสินค้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อ เจ้าพนักงานศุลกากร พร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตาม มาตรา 83/9 แห่งประมวลรัษฎากร
          3. บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียตามใบกำกับภาษีในข้อ 1 และใบเสร็จ รับเงินของกรมศุลกากรข้อ 2 ไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 71/36063

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020