เมนูปิด


          2. รายจ่ายค่าเช่าแบบลิสซิ่งประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เฉพาะส่วนที่เกินคันละ 36,000 บาท ตามมาตรา 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิใช่หรือไม่


          3. บริษัทฯ หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนทั้งจำนวนทั้งที่เกินหนึ่งล้านบาท โดยอ้างมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่315) พ.ศ. 2540 ถูกต้องหรือไม่อย่างไร


          2. กรณีรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้ให้เช่าได้มาเป็นการเช่าแบบลิสซิ่ง และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้นำรถยนต์ดังกล่าวมาให้เช่าต่อ รายจ่ายค่าเช่าทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธินำมาถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ตามจำนวนที่ จ่ายจริงแต่ไม่เกินคันละ 36,000 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540


          3. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ซื้อ เช่าซื้อ รถยนต์ประเภทดังกล่าวเป็นสินค้า หรือให้เช่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน จากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้อ 1. ส่วนตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 นั้น เป็นกรณีกำหนดมิให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์นั่งและรถยนต์ โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนเฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์นั่งและรถยนต์ โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน และมีรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธินำมูลค่าต้นทุนที่เกิดจากการซื้อหรือการเช่าซื้อรถยนต์ประเภทดังกล่าว เฉพาะส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเมื่อมีการจำหน่ายจ่ายโอนรถยนต์ดังกล่าวไป ตาม มาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540

เลขที่หนังสือ: กค 0702/5605
วันที่:5 กันยายน 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315)
ข้อหารือ          1. กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มี ที่นั่งไม่เกินสิบคน การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสาร ที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน จากมูลค่าต้นทุนส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท ถือว่าไม่ถูกต้อง ตามมาตรา 5 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและ ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ใช่หรือไม่ แนววินิจฉัย          1. กรณีการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ให้เช่าหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท โดยคำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนไม่เกินหนึ่งล้านบาท ตามมาตรา 4(5) และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
เลขตู้: 71/36134

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020