เมนูปิด


          1. บริษัทฯ ทำสัญญาจ้างครูมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีตามแบบ ภ.ง.ด. 1 โดยครูต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 และขอคืนเงินภาษี เนื่องจากได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอนุสัญญาดังกล่าว หรือไม่


          2. เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างระยะเวลา 2 ปีแล้ว บริษัทฯ ได้จัดทำสัญญาจ้างฉบับใหม่ ต่อจากฉบับเก่า เงินได้ของครูในระยะเวลา 2 ปีแรก ได้รับยกเว้นภาษี ครูจะต้องเสียภาษีเฉพาะเงินได้ส่วนที่เกิน 2 ปี และบริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามสัญญาจ้างฉบับใหม่เท่านั้น ใช่หรือไม่


          3. กรณีบริษัทฯ มีรายได้จากค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบ และค่าอุปกรณ์การเรียนจากนักเรียน รายได้ดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช่หรือไม่


              1.1 กรณีครูเข้ามาทำการสอนในประเทศไทย มีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่ ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก โดยจะต้องเดินทางออกจากประเทศไทยก่อนหรือเมื่อครบกำหนด 2 ปี จะได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่แรกที่เข้ามาในประเทศไทย ตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505


              1.2 กรณีครูเข้ามาสอนในประเทศไทย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยได้เดินทางออก จากประเทศไทยก่อนหรือเมื่อครบกำหนด 2 ปีแล้ว หากเดินทางกลับเข้ามาสอนในประเทศไทย อีกในปีที่ 3 หรือปีต่อๆ ไป แม้จะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ก็จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกแต่อย่างใด เพราะข้อ 21 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ให้ยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการเข้ามาสอนครั้งแรก ซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีเท่านั้น


              กรณีครูเดินทางออกจากประเทศไทย ก่อนหรือเมื่อครบกำหนด 2 ปี เป็นการเดิน ทางออกจากประเทศไทยชั่วคราว โดยจะเดินทางกลับเข้ามายังประเทศไทย เพื่อต่อสัญญาจ้างและเริ่มทำงานในปีที่ 3 หรือปีต่อๆ ไปแล้ว กรณีย่อมถือได้ว่า การเดินทางเข้ามาทำการสอนในประเทศไทยดังกล่าว มีลักษณะเป็นงานที่กระทำต่อเนื่องกันไปจากงานสอนเดิม โดยมีระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ซึ่งจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยสำหรับค่าตอบแทนในการสอนมาตั้งแต่ต้น ครูมีหน้าที่ต้องนำค่าตอบแทนที่ได้รับทั้งหมดจากการสอนหนังสือในประเทศไทย มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร


              1.3 หากมีข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า ครูเข้ามาสอนในประเทศไทย มีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก โดยจะต้องเดินทางออกจากประเทศไทย ก่อนหรือเมื่อครบกำหนด 2 ปี ครูจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาฯ บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งแต่อย่างใด และหากครูถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้เป็นจำนวนเกินกว่าที่ควรต้องเสีย ครูมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินได้ตามแบบ ค.10 ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป ตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร


          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม


              2.1 รายรับค่าอาหาร หากเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียน เข้าลักษณะเป็นการให้บริการการศึกษาของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร


              2.2 รายรับค่าเครื่องแบบนักเรียน และรายรับค่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หาก ไม่ใช่เป็นการจำหน่ายหนังสือหรือตำราเรียน เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0702/5670
วันที่:9 กันยายน 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้ของครูสัญชาติอังกฤษที่เข้ามาสอนในประเทศไทย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มาตรา 81(1)(ช)(ฉ) และมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนิน กิจการโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เนื่องจาก ตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ยกเว้นภาษีสำหรับค่าตอบแทนในการสอนให้แก่ครูผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ และได้เข้ามาสอนในประเทศไทยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี บริษัทฯ จึงขอทราบว่า แนววินิจฉัย          1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เลขตู้: 71/36136

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020