เมนูปิด


          1. ค่าชดเชย จำนวน 8 เท่า (83,970 X 8) เป็นเงิน 671,760 บาท


          2. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 10 เท่า (83,970 X 10) เป็นเงิน 839,700 บาท


          3. ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เท่า (83,970 X 1) เป็นเงิน 83,970 บาท


          4. ค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงาน 5 เท่า (83,970 X 5) เป็นเงิน 419,850 บาท


          รวมเป็นเงิน 2,015,280 บาท


          เงินได้ที่ได้รับครั้งที่สอง นาย ส. เลือกนำมาคำนวณในใบแนบ ปีภาษี 2550 (เงินที่ นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน) โดยรวมเงินชดเชยตาม 1. จำนวน 8 เท่าเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม 2. จำนวน 10 เท่า และเงินค่าสินจ้างบอกกล่าวล่วงหน้าตาม 3. จำนวน 1 เท่า เฉพาะส่วนที่เกินสามแสนบาท (หลังยกเว้นเงินชดเชย ตามกฎหมายแรงงาน ตามข้อ 2 (51) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร) จำนวน 1,295,430 บาท และเงินค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานตาม 4. จำนวน 5 เท่า เป็นเงิน 419,850 บาท ถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามข้อ 1(ง) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 นาย ส. ได้อ้างคำพิพากษาฎีกา ที่ 43/2547 เพื่อเป็นเหตุผลในการขอคืนภาษีดังกล่าว

เลขที่หนังสือ: กค 0702/5706
วันที่:9 กันยายน 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
ข้อกฎหมาย: -
ข้อหารือ          นาย ส. ได้รับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานสองครั้ง ครั้งแรกในปีที่ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มบริษัท อ. โดยบริษัท อ. (นายจ้าง) จำนวน 182,803.24 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 2,995.21 บาท นาย ส. ได้นำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามแบบ ภ.ง.ด. 90 ปี 2549 ครั้งที่สองได้รับในปี 2550 ให้บริษัท อ. จ่ายเงินช่วยเหลือให้ นาย ส. รวม 24 เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ได้รับ ดังนี้ แนววินิจฉัย          คำพิพากษาฎีกามีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา หรือคำสั่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา145 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับแนวปฏิบัติที่กรมสรรพากรได้วางไว้ ตามบันทึกลงวันที่ 30 กันยายน 2541 ดังนั้น กรณีนาย ส. ได้รับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกลุ่มบริษัท ท. ในปีภาษี 2549 และได้รับเงินชดเชยจากบริษัท อ. ในปี 2550 เป็นกรณีที่มีการจ่ายเงินได้จากผู้จ่ายรายเดียวกันหลายครั้ง ไม่ว่าจะแบ่งจ่ายจากเงินประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท นาย ส. จะเลือกเสีย ภาษีต่างหากจากเงินได้อื่นได้เฉพาะเงินได้ที่จ่ายในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้เท่านั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(ข) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535
เลขตู้: 71/36137

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020