เมนูปิด


          1. สาขา A จะโอนทรัพย์สิน หนี้สิน และพนักงานทั้งหมดให้สาขา B ได้หรือไม่


          2. กรณีสาขา A ทำการโอนทรัพย์สินต่างๆ ไปให้สาขา B พร้อมกับได้แจ้งเลิกการประกอบธุรกิจเฉพาะในส่วนของสาขา A ในประเทศไทยต่อนายทะเบียน ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยสาขา A คิดราคา ทรัพย์สินที่โอนตามราคาตลาด ณ วันที่แจ้งเลิกกิจการ สาขา A จะต้องนำราคาตลาดของทรัพย์สินที่โอนมาถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือไม่


          3. ทรัพย์สินที่มีสิทธิหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคา เมื่อโอนไปให้สาขา B แล้ว สาขา B มีสิทธิที่จะนำไปหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเท่าที่มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ตามมาตรา 74(1)(ข) และ (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่


          4. การโอนทรัพย์สิน หนี้สิน และพนักงานทั้งหมดดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการโอนกิจการทั้งหมด ซึ่งไม่ถือเป็นการขาย ตามมาตรา 77/1(8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่


          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่สาขา A ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้โอนกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ให้กับสาขา B ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เข้าลักษณะเป็นการโอนกิจการทั้งหมดที่ไม่ถือเป็นการขาย ตาม มาตรา 77/1(8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร สาขา A จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/7175
วันที่:27 ตุลาคม 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนกิจการระหว่างสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77(1)(ข) และ (ค) และมาตรา 77(1)(8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          นิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบกิจการผ่านสาขาใน ประเทศไทย (สาขา A) เพื่อให้บริการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สาขา A มีความประสงค์จะเลิกประกอบกิจการและโอนทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนพนักงานทั้งหมดให้แก่สาขาของอีกนิติบุคคลหนึ่ง (สาขา B) ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประกอบกิจการผ่านสาขาในประเทศไทย โดยสาขา B เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน บริษัทฯ ขอหารือว่า แนววินิจฉัย          1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีที่สาขา A ซึ่งเป็นสาขาของนิติบุคคลในสหรัฐอเมริกาโอนทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนพนักงานทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบการใน ประเทศไทย ให้แก่สาขา B โดยภายหลังที่สาขา A โอนกิจการแล้ว นิติบุคคลในสหรัฐอเมริกามิได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกกิจการนั้น ไม่เข้าลักษณะ เป็นการโอนกิจการ ตามมาตรา 74(1)(ข)และ (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น สาขา A ผู้โอนจึงมีหน้าที่ต้องนำมูลค่ากิจการที่โอนตามราคาตลาด มารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 71/36201

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020