เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./8674
วันที่: 19 ธันวาคม 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำมูลค่าของฐานภาษีมาคำนวณเสียภาษี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 80 มาตรา 82/3 และมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          นาง อ. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548 ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง แต่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และในปี 2548 นาง อ. ยังไม่มีรายรับจากการประกอบกิจการ ต่อมาในปี 2549 มีรายรับจากการประกอบกิจการเกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 นาง อ. ขอทราบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
          1. นาง อ. ไม่มีรายรับจากการประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างในปีแรกของการจดทะเบียนพาณิชย์ ถือว่าเริ่มประกอบกิจการมาแล้วหรือไม่
          2. หลักเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกำหนดไว้อย่างไร
          1. นาง อ. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548 ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง แต่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การประกอบกิจการดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในปี 2548 นาง อ. ได้ประกอบกิจการให้บริการดังกล่าวจริง แม้ไม่มีรายรับจากการประกอบกิจการ ก็ถือว่า นาง อ. ได้เริ่มประกอบกิจการแล้ว อย่างไรก็ดีนาง อ. มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดหกเดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ในเมื่อนาง อ. มีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการ อันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักรตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
          2. กรณีที่นาง อ. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548 ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง และมีรายรับจากการประกอบกิจการเกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปีในปี 2549 นั้น นาง อ. มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 และมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ซึ่งเป็นมูลค่าฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 และตามมติคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550
แนววินิจฉัย          1. นาง อ. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548 ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง แต่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การประกอบกิจการดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในปี 2548 นาง อ. ได้ประกอบกิจการให้บริการดังกล่าวจริง แม้ไม่มีรายรับจากการประกอบกิจการ ก็ถือว่า นาง อ. ได้เริ่มประกอบกิจการแล้ว อย่างไรก็ดีนาง อ. มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดหกเดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ในเมื่อนาง อ. มีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการ อันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักรตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
          2. กรณีที่นาง อ. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548 ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง และมีรายรับจากการประกอบกิจการเกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปีในปี 2549 นั้น นาง อ. มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 และมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ซึ่งเป็นมูลค่าฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 และตามมติคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550
เลขตู้: 71/36269

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020