ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต
หากประสงค์จะยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ทางอินเทอร์เน็ต ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
1. ต้อง สมัครสมาชิกล่วงหน้า
1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/เลือก "ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
2. เลือก"บริการสมาชิก">>เลือก "สมัครสมาชิก" กรอกข้อมูลตามแบบ ภ.อ.01 ให้ครบถ้วน จากนั้นกดปุ่ม "ตกลง"
3. เลือก "ช่องทางการชำระภาษี" ที่ประสงค์จะเลือกใช้
4. สั่งพิมพ์แบบ ภ.อ.01 ที่ระบุหมายเลขอ้างอิงการลงทะเบียนและข้อตกลงการยื่นแบบฯ เพื่อให้กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตรานิติบุคคล(ถ้ามี) ทุกหน้า
5. เอกสารที่ใช้ประกอบในการยื่นแบบคำขอยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ภ.อ.01 มีดังนี้
1) ข้อตกลงในการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต2) กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องแนบสำเนา หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฉบับปัจจุบันที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ลงลายมือชื่อ และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจผูกพันกับนิติบุคคลนั้น โดยผู้มีอำนาจดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อรับรองในภาพถ่ายด้วย
3) กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองในภาพถ่าย
4) ภายใน 15 วัน หลังจากที่ลงทะเบียนตามแบบ ภ.อ.01 แล้ว ให้นำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ยื่นต่อสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร ชั้น 27 หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร
6. การให้ "หมายเลขผู้ใช้(User ID) พร้อมรหัสผ่าน (Password)"
1) กรณีนำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ยื่นต่อสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ท่านจะได้รับ "หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน" ในวันที่นำเอกสารฯ มายื่น2) กรณีนำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด) ท่านจะได้รับ "หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน" ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้
7. การอนุมัติให้ใช้บริการ "ยื่นแบบ และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต" กรมสรรพากรจะแจ้งผลการอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ทางe-mail address ที่ท่านได้แจ้งไว้ในการลงทะเบียน หรือตรวจสอบได้ที่ http://www.rd.go.th/ >>ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต>> ตรวจสอบผลการยื่น ภ.อ. 01
2. ถ้าเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่เป็นแบบประเภทอื่น
1. ต้องเพิ่มประเภทแบบ ภ.ง.ด. 502. โดยเข้าเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/
3. เลือก บริการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต
4. เลือก บริการสมาชิก = >เลือก เพิ่ม-ลดประเภทแบบ ป้อนข้อมูลตามแบบ ภ.อ. 03 ให้ครบถ้วน จากนั้นกดปุ่ม ตกลง
5. เมื่อเพิ่มประเภทแบบ ภ.ง.ด. 50 แล้ว ยื่นแบบได้ทันที
3. ขั้นตอนในการยื่นแบบ
1. ติดตั้งโปรแกรม ภ.ง.ด. 50 Offline โดยสามารถ Download โปรแกรมได้ที่ >> www.rd.go.th >> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต >> แนะนำบริการ - แนะนำโปรแกรม >> แบบ ภ.ง.ด. 50 เวอร์ชั่น 25512. การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม ภ.ง.ด. 50 Offline เมื่อจัดเก็บเรียบร้อยแล้ว ให้จำชื่อfile ที่จัดเก็บไว้ว่าชื่ออะไร และจัดเก็บไว้ที่ใด
3. ขั้นตอนการยื่นแบบ โดยทำการ Browse File ที่จัดทำไว้แล้วขึ้นมาทำการยื่นแบบ online
4. ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระเลือกช่องทางการชำระเงินและชำระเงินให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา
การทำรายการผ่าน Web Site กรมสรรพากร
การเข้าสู่ Web Site กรมสรรพากร เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่าน Internet เช่น การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี การขอจดทะเบียน เป็นต้น แต่ไม่สามารถทำรายการได้สำเร็จจนครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดจากการเข้า Web Site ไม่ถูกต้อง
แนะนำ : วิธีการที่ถูกต้อง คือ ให้ พิมพ์ http://www.rd.go.th/ ตรงช่อง Addressไม่ควรเข้า Web Site ของกรมสรรพากรผ่าน Web Search Enging ต่างๆ เช่น google, sanook, Mthai หรืออื่นๆในลักษณะเดียวกัน เนื่องจาก Web Search Enging เหล่านี้จะจำค่าที่ไม่ถูกต้องต่างๆ ไว้ เมื่อเข้าผ่านช่องทางเหล่านี้จะทำให้ไม่สามารถใช้บริการต่างๆ ของกรมสรรพากรได้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้น ถูก Block ด้วย Internet Security สามารถแก้ไขได้ โดยเลือกแถบเมนู ของ Internet Explorer หัวข้อ Tools >> Internet Options >> Privacy>> รายการ Pop-up Blocker >> ให้นำเครื่องหมาย ออกจากช่อง Block pop-up แล้วกด OK จากนั้นให้ทำการปิดหน้า Internet Explorer ทุกหน้าแล้วเปิดเข้าไปใหม่ หรือทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ จึงจะสามารถทำรายการต่อไปได้
2. เกิดปัญหาทำรายการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ได้ กรณีมีแถบ Tools bar ของ Web Serch Enging อื่นๆ เช่น google, sanook, mthai หรืออื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ปรากฎอยู่ใต้แถบ Address
แนะนำ : บนหน้า Internet Explorer มีแถบ Tools bar ของ Web Search Enging ต่างๆ ต้องทำการ Remove แถบ Tools bar ออกจากหน้า Internet Explorer โดยเข้าไปที่ Start >> Control Panel >> Add or Remove Programs >> เลือกรายการที่เป็น Tools bar และทำการ Remove ออกทุกตัว จากนั้นให้ทำการปิดหน้า Internet Explorer ทุกหน้าแล้วเปิดเข้าไปใหม่ หรือ ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ จึงจะสามารถทำรายการต่อไปได้
สารพันคำถาม
1. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต มีขั้นตอนสมัครขอใช้บริการอย่างไร
คำตอบ : การสมัครขอใช้บริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต มีขั้นตอน ดังนี้
1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ http://www.rd.go.th/เลือก บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
2. เลือก บริการสมาชิก == > เลือก สมัครสมาชิก ป้อนข้อมูลตามแบบ ภ.อ.01 ให้ครบถ้วน จากนั้นกดปุ่ม ตกลง
3. เลือกช่องทางการชำระภาษีที่ประสงค์จะเลือกใช้
4. สั่งพิมพ์แบบ ภ.อ.01 ที่ระบุหมายเลขอ้างอิงการลงทะเบียนและข้อตกลงการยื่นแบบฯ เพื่อให้กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
5. นำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ได้แก่ แบบ ภ.อ.01, ข้อตกลงการยื่นแบบฯ, หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (มีอายุไม่เกิน 6 เดือน), บัตรแสดงตนของผู้มีอำนาจ, หนังสือมอบอำนาจ และบัตรแสดงตนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) มายื่นต่อกรมสรรพากร โดยการยื่นเอกสารฯ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
(1) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ ใน เขตกรุงเทพมหานคร ให้นำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ยื่นต่อสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ ชั้น 27 อาคารกรมสรรพากร ภายใน 15 วัน หลังจากที่ลงทะเบียนตามแบบ ภ.อ.01 แล้ว
(2) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ นอก เขตกรุงเทพมหานคร ให้นำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 15 วัน หลังจากที่ลงทะเบียนตามแบบ ภ.อ.01 แล้ว
6. กรมสรรพากรจะออกหมายเลขผู้ใช้ (User ID) พร้อมรหัสผ่าน (Password) ให้
(1) กรณีนำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ยื่นต่อสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับในวันที่นำเอกสารฯ มายื่น
(2) กรณีนำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการ ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) กรมสรรพากรจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail address) ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้
7. การอนุมัติให้ใช้บริการ กรมสรรพากรจะแจ้งผลการอนุมัติให้ใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษี ผ่านอินเทอร์เน็ตทาง e-mail address ที่ได้แจ้งไว้ในการลงทะเบียน
(1) กรณีผู้ประกอบการที่เลือกใช้ช่องทางการชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ทาง e-payment, Internet Banking, Phone Banking, Mobile Banking จะต้องติดต่อขอใช้บริการจากธนาคารเพื่อชำระภาษี เมื่อธนาคารอนุมัติให้ใช้บริการแล้ว ต้องแจ้งกลับมายังกรมสรรพากรว่าใช้บริการกับธนาคารใด สาขาใด เพื่อกรมสรรพากรจะได้พิจารณาอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตต่อไป
(2) กรณีผู้ประกอบการที่เลือกใช้ช่องทางการชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่น Counter Service, Counter ของธนาคาร, ATM, Pay at Post (ไปรษณีย์)จะได้รับพิจารณาอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องแจ้งกลับมายังกรมสรรพากรว่าใช้บริการกับหน่วยรับชำระภาษีใด
2. คำถาม : ในการสมัครขอใช้บริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตต้องใช้เอกสารใดบ้าง
คำตอบ : เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นแบบคำขอยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
1. แบบ ภ.อ.01 ที่มีกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อพร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
2. ข้อตกลงในการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อพร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
3. หลักฐานการแสดงตน ได้แก่ สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ลงลายมือชื่อ และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลนั้นโดยผู้มีอำนาจดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อรับรองในภาพถ่ายด้วย
4. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท) พร้อมกับแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองในภาพถ่าย
3. คำถาม : หลังจากได้ยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาพร้อมแบบ ภ.อ.01 และได้รับหมายเลขผู้ใช้ (User ID) พร้อมรหัสผ่าน (Password) จากกรมสรรพากรแล้ว จะสามารถใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตได้เมื่อใด
คำตอบ : สามารถตรวจสอบผลการยื่นแบบ ภ.อ.01 ได้จากเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/== > บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต == > WHAT'S NEW == > [ตรวจสอบผลการยื่น ภ.อ.01]
4. คำถาม : กรมสรรพากรคิดค่าบริการในการสมัครเป็นสมาชิก ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตหรือไม่
คำตอบ : กรมสรรพากร ไม่คิดค่าบริการ สำหรับสมาชิกที่ใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต แต่หากมีเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม หน่วยรับชำระภาษีจะคิดค่าธรรมเนียมแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่แต่ละหน่วยชำระภาษีว่าจะคิดค่าธรรมเนียมเท่าใด (สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์http://www.rd.go.th/== > บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต == > แนะนำหน่วยรับชำระภาษี)
5. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ตมีใบแนบต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมของกรมสรรพากรไปติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกหัวข้อ แนะนำบริการ เลือก แนะนำโปรแกรมประกอบ และเลือกประเภทแบบตามที่ต้องการ (สามารถศึกษา รายละเอียดวิธีการติดตั้งโปรแกรมใบแนบได้จากเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/==> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ==> แนะนำบริการ ==> แนะนำโปรแกรม)
6. คำถาม : การบันทึกข้อมูลในโปรแกรมใบแนบ ภ.ง.ด.50 ระบบจะดำเนินการประมวลผลการคำนวณภาษีให้หรือไม่
คำตอบ : การบันทึกข้อมูลในโปรแกรมใบแนบ ภ.ง.ด.50 ระบบจะดำเนินการประมวลผลการคำนวณภาษีให้โดยอัตโนมัติ หากมีการบันทึกข้อมูลผิดพลาดระบบจะแสดงข้อผิดพลาดให้ทราบให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
7. คำถาม : การบันทึก ข้อมูลเลขทะเบียนผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องกรอกข้อมูลอย่างไร
คำตอบ : การบันทึกข้อมูลเลขทะเบียนผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ตให้กรอกข้อมูลเป็นตัวเลข 8 หลัก หากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี กรณี
1. ไม่ได้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ให้กรอกตัวเลข 4 หลักแรกเป็นเลข 0
2. เป็นผู้ตรวจสอบภาษีอากร ให้กรอกข้อมูลของผู้ตรวจสอบภาษีอากรก่อนและตามด้วยตัวเลข 6 หลัก
8. คำถาม : กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนของผู้ทำบัญชีเป็นรหัสเลขที่ของผู้ทำบัญชี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2551 ต้องกรอกข้อมูลรหัสเลขที่ของผู้ทำบัญชีอย่างไร
คำตอบ : ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2551 ให้กรอกข้อมูลผู้ทำบัญชีด้วยรหัสเลขที่เดิม 8 หลัก ไปก่อนจนกว่ากรมสรรพากรจะมีการเปลี่ยนแปลง
9. คำถาม : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ e - Payment หรือ Internet Banking มีขั้นตอนอย่างไร
คำตอบ : ผู้ประกอบการที่ประสงค์ขอใช้บริการชำระภาษีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ e - Payment หรือ Internet Banking จากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ กับกรมสรรพากรจะต้องติดต่อขอใช้บริการและดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารที่ใช้บริการนั้นๆ และเมื่อได้รับอนุมัติจากธนาคารแล้ว ธนาคารจะออกหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อใช้ในการสั่ง โอนเงินชำระภาษี โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของธนาคารที่ใช้บริการนั้นๆ ทั้งนี้เมื่อได้รับอนุมัติจากธนาคารแล้วต้องแจ้งชื่อธนาคาร และสาขาของธนาคารที่ใช้บริการต่อกรมสรรพากร จึงจะได้รับอนุมัติให้สามารถดำเนินการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตได้ (สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/== > บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต == > แนะนำหน่วยรับชำระภาษี)
10. คำถาม : หน่วยรับชำระภาษีที่เข้าร่วมโครงการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ตกับกรมสรรพากรมีหน่วยงานใดบ้าง
คำตอบ : ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยรับชำระภาษีที่เข้าร่วมโครงการฯ กับกรมสรรพากรได้จากเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/== > บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต == > แนะนำหน่วยรับชำระภาษี
11. คำถาม : ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตและได้แจ้งช่องทางการชำระภาษี หรือธนาคารที่ใช้บริการต่อกรมสรรพากรแล้ว ต่อมามีความประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงช่องทางการชำระภาษีหรือธนาคารที่ใช้บริการอยู่ ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อกรมสรรพากรหรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : การเปลี่ยนแปลงช่องทางการชำระภาษี สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. กรณีที่ยังไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถเปลี่ยนแปลงช่องทางการชำระภาษีได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งกรมสรรพากร เช่น เดิมเลือกชำระภาษีผ่านทาง Internet Banking ต่อมาไม่สะดวกในการชำระภาษีผ่านช่องทางเดิมที่เลือกไว้ สามารถจะเปลี่ยนช่องทางการชำระภาษีเป็นช่องทางอื่นได้โดยเมื่อทำรายการยื่นแบบและมีภาษีที่ต้องชำระ ระบบจะให้เลือกวิธีการชำระภาษีสามารถเลือกชำระภาษีผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ATM, Pay at Post (ไปรษณีย์), Counter Service ได้ทันที
2. กรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเทอร์เน็ตและได้เลือกช่องทางการชำระภาษีแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงช่องทางการชำระภาษีได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งกรมสรรพากร โดยเลือก บริการยื่นแบบ == > เลือกประเภทแบบแสดงรายการ == > Log in เข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) == > ระบบจะแสดงรายการค้างชำระ == > double click ที่หมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบ == > ระบบจะแสดงแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นไว้ == > เลือก ตกลง == > ระบบจะให้เลือกช่องทางการชำระภาษีใหม่
12. คำถาม : หากรหัสควบคุม (Control Code) ที่ระบบออกให้ เพื่อนำไปสั่งชำระเงิน ณ หน่วยรับชำระภาษี สูญหาย ต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : กรณีรหัสควบคุม (Control Code) การชำระภาษีสูญหายสามารถขอรับรหัสควบคุม (Control Code) ใหม่ได้ โดยเลือก บริการยื่นแบบ == > เลือกประเภทแบบแสดงรายการ == > Log in เข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) == > ระบบจะแสดงรายการค้างชำระ == > double click ที่หมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบ == > ระบบจะแสดงแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นไว้ == > เลือก ตกลง == > ระบบจะให้เลือกช่องทางการชำระภาษีใหม่อีกครั้ง == > เลือกวิธีการชำระเงินระบบจะออกรหัสควบคุม (Control Code) ให้ใหม่ เพื่อนำไปสั่งชำระเงินได้ตามปกติ
13. คำถาม : หากทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ตเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถชำระเงินได้ภายในกำหนดเวลาจะถือว่าได้มีการยื่นแบบฯแล้วหรือไม่
คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้มีการชำระเงินเต็มตามจำนวนเงินภาษี และโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น หากดำเนินการยื่นแบบฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กรมสรรพากรจะถือว่าไม่ได้ยื่นแบบฯ และยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบฯ พร้อมทั้งชำระ ค่าปรับ และเงินเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ เนื่องจากเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จะไม่สามารถยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตได้
14. คำถาม : วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2551 ตรงกับวันหยุดราชการ การยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต จะยื่นแบบฯ ในวันทำการถัดไปได้เหมือนการยื่นแบบฯ ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหรือไม่
คำตอบ : สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2551 วันสุดท้ายของการยื่นแบบฯ ตรงกับวันหยุดราชการ สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ในวันทำการถัดไป คือ วันที่ 1 มิถุนายน 2552 จนถึงเวลา 24.00 น. หากมีภาษีที่ต้องชำระ จะต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกันทั้งจำนวน ก่อนเวลา 22.00 น. ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการสิ้นสุดระยะเวลาในการให้บริการของหน่วยรับชำระภาษีที่เลือก
15. คำถาม : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้เสียภาษีต้องรับผิดชำระภาษีและค่าปรับอย่างไรบ้าง
คำตอบ : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เกินกำหนดเวลาต้องรับผิด
1. ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กำหนด ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีมีภาษีต้องชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ จนถึงวันที่ยื่นแบบฯ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
16. คำถาม : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต จะต้องส่งเอกสารแนบ เช่น งบการเงินด้วยหรือไม่ และหากไม่ต้องนำส่งต้องเก็บรักษาเอกสารไว้นานเท่าใด
คำตอบ : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ต้องส่ง เอกสารงบการเงินให้กับกรมสรรพากร แต่จะต้องมีบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคล ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
17. คำถาม : บริษัทมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ชำระแล้ว 5 ล้านบาท ณ วันสุดท้ายในรอบบัญชี ได้สิทธิ์ลดอัตราภาษี หรือไม่
คำตอบ : ได้รับสิทธิ์
18. คำถาม : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 471) ให้ลดอัตราภาษีเงินได้เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท ยกเว้น กำไรสุทธิ 150,000 บาท เริ่มใช้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด
คำตอบ : เริ่มใช้ในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ตัวอย่าง รอบระยะเวลาบัญชี 1 เมษายน 2550-31 มีนาคม 2551 ใช้สิทธิ์ในรอบบัญชีนี้ไม่ได้
19. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมได้หรือไม่
คำตอบ : ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เพิ่มเติมได้ภายในกำหนดเวลา โดยต้องบันทึกรายได้ และค่าใช้จ่ายใหม่ทั้งหมด มิใช่บันทึกเฉพาะยอดที่ยื่นเพิ่มเติม
20. คำถาม : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เพิ่มเติม ต้องแนบงบการเงิน หรือไม่
คำตอบ : 1. กรณีรายได้ รายจ่ายหรือรายการในงบการเงินไม่ถูกต้อง ต้องแนบงบการเงินที่มีผู้สอบบัญชีหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงลายมือชื่อรับรอง
2. กรณี ปรับปรุงรายการทางบัญชีให้เป็นหลักเกณฑ์ทางภาษี ไม่ต้องแนบงบการการเงินที่ผู้สอบบัญชีหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงลายมือชื่อรับรอง
RD Call Center 1161
บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี