กรมสรรพากรได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 และ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 213) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 5,000,000 บาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน
รายการ | หลักเกณฑ์และเงื่อนไข | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ยกเว้นเท่ากับภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ หรือที่ต้องชำระก่อนการคำนวณเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ฯ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ผู้มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. การจ่ายค่าซื้อบ้านหลังแรก และ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ | ระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และวิธีคำนวณสิทธิยกเว้นภาษีฯ | · ยกเว้นภาษีครั้งแรก ภายใน 5 ปีภาษี นับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ฯ และต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษี ต่อเนื่องกันโดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเป็นจำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปีภาษี ดังนี้ · สิทธิยกเว้นภาษีต่อปีภาษี = ( ค่าซื้อฯ ไม่เกิน 5,000,000 x 10% ) 5 ปี ตัวอย่าง 1.นาย ก. ซื้อบ้านหลังแรก 15 ธันวาคม 2554 และโอนกรรมสิทธิ์ 15 มกราคม 2555 ราคา 5,000,000 บาท ดังนั้น นาย ก. สามารถเริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นฯครั้งแรกได้ภายใน 5 ปีภาษี โดยเริ่ม ตั้งแต่ปีภาษี 2555 - 2559 เป็นจำนวนเท่ากับ 100,000 บาทต่อปี เท่า ๆ กันในแต่ละปีภาษี เป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. เงื่อนไขการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา | · มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่ซื้อเป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมถึงการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และทำสัญญาจ้างปลูกสร้างอาคารแยกจากกัน) เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และอสังหาริมทรัพย์ฯ นั้น ต้องไม่เคยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ·ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ฯ มาก่อน ·ไม่เคยใช้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือ สร้างอาคารอยู่อาศัย ·ไม่เคยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยเดิมและซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยใหม่ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ.2546) และไม่เคยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ.2552) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6. กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ
| ยกเว้นภาษีได้ทุกคน โดยเฉลี่ยตามส่วนของกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง และไม่เกินร้อยละ 10ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7. กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา
| ยกเว้นภาษีได้เพียงแห่งเดียว 7.1 สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับ ยกเว้นภาษี ดังนี้ (1) กรณีภริยาไม่แยกยื่นแบบฯ ยกเว้นภาษีรวมกันเท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริงแต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ (2) กรณีภริยาแยกยื่นแบบฯ ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกของสามีและภริยา จะต้องกระทำในปีภาษีเดียวกัน (3) กรณีต่างฝ่ายต่างมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้ว ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ เพียงแห่งเดียว 7.2 สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งต้องแยกยื่นแบบฯ ดังนี้ (1) กรณีมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างยังคงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ (2) กรณีผู้มีเงินได้สมรสกัน ต่อมามีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8. กรณีการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อสังหาริมทรัพย์ฯ ร่วมกัน | ผู้กู้ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเอง หรือเคยใช้สิทธิหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมาแล้ว ผู้กู้ร่วมจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในส่วนของเงินได้ที่ใช้กู้ร่วม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9. ตัวอย่างการคำนวณภาษี | ตัวอย่างที่ 1 กรณีไม่มีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ ปีภาษี 2554 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือน 240,000 บาท ซื้อบ้าน
* เนื่องจากไม่มีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจาก ตัวอย่างที่ 2 กรณีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิน้อยกว่าค่าซื้อบ้านหลังแรก 1. ปีภาษี 2554 นาย ก มีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือน 340,000 บาท ซื้อบ้าน
** ได้รับยกเว้นภาษีจากบ้านหลังแรกไม่เกินภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ (3,900,000 x 10% = 78,000 บาทต่อปีภาษี) 5 ปี |
9. ตัวอย่างการคำนวณภาษี (ต่อ) | ตัวอย่างที่ 3 กรณีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิมากกว่าค่าซื้อบ้านหลังแรก 1. ปีภาษี 2554 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือน 1,000,000 บาท ซื้อบ้านหลังแรก ราคา 3,900,000 บาท คำนวณภาษี ดังนี้
*** ได้รับยกเว้นภาษีจากบ้านหลังแรกตามจำนวนค่าซื้อฯ ที่จ่ายจริงเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 5,000,000 บาท (3,900,000 x 10% = 78,000 บาทต่อปีภาษี) 5 ปี | ||||||||||||||||||
10. กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ | สิ้นสุดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตั้งแต่ปีภาษีแรกที่ได้ใช้สิทธิฯ และให้ถือว่าไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา และให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง สำหรับภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมาแล้วด้วย | ||||||||||||||||||
11. หลักฐานประกอบการยกเว้น ภาษีเงินได้ | · หนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ · หนังสือรับรองตนเองว่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งแรก · สำเนาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ · สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน (กรณีกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน)
|
RD Call Center 1161
บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี