รายการหักลดหย่อน / ยกเว้นภาษี | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี (ภ.ง.ด.90 / 91) |
1. ลดหย่อนส่วนบุคคล 1.1 ผู้มีเงินได้ |
30,000 บาท * คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล 60,000 บาท |
1.2 คู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) | 30,000 บาท |
1.3 บุตรที่ศึกษาในประเทศ | คนละ 17,000 บาท |
1.4 บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาในต่างประเทศ | คนละ 15,000 บาท |
1.5 ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่มีเงินได้ | คนละ 30,000 บาท |
1.6 ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ทั้งนี้ คนพิการหรือคนทุพพลภาพต้องไม่มีเงินได้ | คนละ 60,000 บาท |
2. ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับเบี้ยประกันชีวิต 2.1 ผู้มีเงินได้
| ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หากเบี้ยประกันภัยที่จ่าย เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นอีกร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
2.2 คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ | หักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท |
3. ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา ของผู้มีเงินได้ และบิดา มารดาของคู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้ | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท |
4. ลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท |
5. ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม | ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับ |
6. ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม | ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 500,000 บาท |
7. ยกเว้นเงินสะสม กบข. | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท |
8. ยกเว้นเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท |
9. ยกเว้นเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ของค่าจ้างหรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย |
10. ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย 10.1 ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
10.2 ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ตามส่วนเฉลี่ยดอกเบี้ยของจำนวนผู้กู้ |
11.ลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม * กรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท |
12. ลดหย่อนและยกเว้นเงินบริจาค 12.1 ยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
|
2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ร้อยละ 10 |
12.2 ยกเว้นค่าใช้จ่ายและเงินบริจาค ดังนี้ · ยกเว้นค่าใช้จ่ายการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน · ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ · ยกเว้นเงินบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น · ยกเว้นค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 515) (ฉบับที่ 519) (ฉบับที่ 520) และ |
12.3 ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป | ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในเดือน ม.ค. ถึง ธ.ค. แต่ |
12.4 ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย | 1.5 เท่าของจำนวนที่บริจาคจริงในเดือน ก.ย. ถึง ธ.ค. 2554 แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคทั่วไป ต้องไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและ |
13. ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในไทย และมีอายุ | ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท |
14. ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นคนพิการอยู่ในไทย และ | ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท |
15. ยกเว้นเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ | ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ ที่มีมูลค่าไม่เกิน 5,000,000 บาท ซึ่งได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างวันที่ 21 ก.ย. 2554 ถึง 31 ธ.ค. 2555 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นจำนวนไม่เกินภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิเป็นจำนวนเท่าๆกัน ในแต่ละปีภาษี (พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 528) พ.ศ.2554) |
16. ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก * อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย | ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมบ้าน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555 |
17. ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบ * อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย | ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555 |
RD Call Center 1161
บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี