เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/6158
วันที่: 20 กรกฎาคม 2555
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้ของ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ข้อกฎหมาย: การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร
ข้อหารือ        สำนักงานกองทุนฯ หารือกรณี ศาลอุทธรณ์ภาค ได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลข แดง ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ให้กองทุนฯ จำเลย โอนโฉนดที่ดินตราจอง จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 5 - 0 - 48 ไร่ ให้แก่นาย ป. โจทก์ ซึ่งคดี ถึงที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 และนาย ป. ได้ยื่นคำขอต่อสำนักงานที่ดินจังหวัด แต่สำนักงานที่ดินฯ เรียกเก็บค่าภาษีและ ค่า ธรรมเนียมการโอนจำนวน 22,000 บาท โดยให้เหตุผลว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว เป็นการโอนตามคำสั่งศาลไม่ได้เป็นการโอน ตามมาตรา 37/9 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544 ซึ่งสำนักงานกองทุนฯ เห็นว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกรณีนี้ ควรได้รับยกเว้น ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 37/10 และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่459) พ.ศ. 2549 ซึ่งกรมที่ดินเห็นว่า การที่กองทุนฯ และนาย ป. ได้ ตกลง ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549 เนื่องจากนาย ป. เป็นสมาชิกกองทุนฯ ซึ่งกองทุนฯ มีหน้าที่จัดการฟื้นฟู อาชีพเกษตรกรรมและ จัดการหนี้สินเกษตรกร จึงเข้าเจรจาหนี้สินของนาย ป. ที่มีอยู่กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยได้ชำระหนี้ แทน นาย ป. และรับโอนที่ดินแปลงหลักประกันจากนาย ป. ซึ่งจดทะเบียนโอนในประเภท "โอนตามกฎหมาย มาตรา 37/9 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติฯ" และเมื่อกองทุนฯ รับโอนที่ดินมาแล้วเกษตรกรจะได้รับที่ดินที่ใช้เป็นหลักประกันคืน จากกองทุนฯ ได้โดยการเช่าซื้อ หรือซื้อ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 37/9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ ดังนั้น เมื่อ ศาลอุทธรณ์ภาค ได้วินิจฉัยว่า นาย ป. ได้ชำระเงินค่าเช่า ซื้อแก่กองทุนฯ ครบถ้วนแล้ว กองทุนฯ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้นาย ป. พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดิน ดังกล่าวให้แก่นาย ป. โดยจดทะเบียนโอนในประเภท "โอนจากการเช่าซื้อ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7" ซึ่งมาตรา 37/10 แห่งพระ ราชบัญญัติฯ ให้กองทุนฯ และเกษตรกรได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม และภาษีอากรในการจดทะเบียน ซึ่งภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ได้รับยกเว้นตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่459) พ.ศ. 2549 สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากไม่ได้มีการ ออกพระราชกฤษฎีกามายกเว้นให้ตามมาตรา 37/10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ แต่กรมที่ดินเห็นว่า สำนักงานกองทุนฯ ไม่ได้เป็น นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ใช่หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย        1. กองทุนฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติฯ ไม่เข้า ลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวล รัษฎากร เมื่อนาย ป. จ่ายเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่กองทุนฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
        2. ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค คดีหมายเลขแดง ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 พิพากษาให้กองทุนฯ ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้คืน ให้แก่นาย ป. ที่เป็นเกษตรกร เนื่องจาก นาย ป. ได้ชำระ ค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วตามสัญญาเช่าซื้อ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 ระหว่างกอง ทุนฯ ผู้ให้เช่าซื้อ และนาย ป. ผู้เช่าซื้อ จึงเป็นการโอนโดยผลของกฎหมายตามมาตรา 37/9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ จึงได้รับยกเว้น ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่กองทุนฯ ตามมาตรา 6 แห่งพระ ราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่459) พ.ศ. 2549
เลขตู้: 75/38223

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020