เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/7996
วันที่: 7 กันยายน 2555
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีของดเงินเพิ่มเนื่องจากภัยพิบัติอุทกภัย
ข้อกฎหมาย: ของดเงินเพิ่มเนื่องจากภัยพิบัติอุทกภัย
ข้อหารือ        จดทะเบียนนิติบุคคลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ กรุงเทพมหานคร ประกอบกิจการให้คำปรึกษาในการออกแบบคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศงานคอมพิวเตอร์ บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม2554 เกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ต่ออธิบดีกรมสรรพากรบริษัทฯ ต้องการขอยกเว้นเงินเพิ่ม เนื่องจากเข้าใจผิดว่ามีการขยาย ระยะเวลาชำระภาษี เป็นวันที่30 ธันวาคม 2554 ตามข้อความที่ระบุใน Pay-in Slip จากการยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตของบริษัท น. ซึ่งเป็นบริษัทใน เครือเดียวกัน โดยเอกสารไม่ได้มีการระบุว่าเฉพาะพื้นที่น้ำท่วม ภายหลังทราบว่า สถานที่ทำการของบริษัทฯ ไม่ได้อยู่ในท้องที่ที่เกิดภัย พิบัติอุทกภัย ทำให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2554 เกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย ต้องชำระเงินเพิ่ม เป็นเงิน 1,337.94 บาท
แนววินิจฉัย        กรณีบริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ สท. ซึ่งไม่ได้ อยู่ในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย เมื่อบริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2554 ในวันที่ 28 ธันวาคม 2554 จึงเป็นการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ล่าช้า ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการยื่นรายการตามมาตรา 3 เตรสมาตรา 52 มาตรา 59 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเดือนกันยายน 2554 เดือนตุลาคม2554 และเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งจะต้อง นำส่งและยื่นรายการภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ตามข้อ 2.2.1 ของคำชี้แจงกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2554 เมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เกินกำหนดเวลา บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียเงิน เพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ตามมาตรา 27แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนกรณีของดเงินเพิ่มไม่มีบท บัญญัติให้อำนาจกระทำได้ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 75/38269

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020