เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: 0702/2015
วันที่: 3 เมษายน 2557
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าติดตามทวงถามและดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้
ข้อกฎหมาย : มาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           กองทุนฯ เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง กยศ ได้ว่าจ้างบริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) เป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม รับชำระหนี้ ติดตามทวงหนี้ และการดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้แทน กยศ โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามสัญญาว่าจ้างบริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สัญญาเลขที่ 082/2553 เอกสารผนวก จ การติดตามทวงถามหนี้และดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ หมวดที่ 2 หน้าที่และความรับผิดชอบของธนาคาร ในการดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้
&nb          หน้าที่ความรับผิดชอบของธนาคาร ในการดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ ให้เป็นไปตามรายละเอียด ดังนี้
               1. เมื่อธนาคาร.........
               2. เมื่อผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกันตามข้อ 1 เพิกเฉยและได้ดำเนินการบอกเลิกสัญญาแล้ว ให้ธนาคารดำเนินคดีต่อผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน เพื่อบังคับชำระหนี้ให้เป็นไปตามสัญญาต่อศาลต่อไปตามที่กองทุนกำหนดในการดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ กยศ ตกลงจ่ายอัตราค่าธรรมเนียม ค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้ธนาคารฯ ธนาคารฯ จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก กยศ ทุกครั้ง กยศ เห็นว่า การดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ น่าจะอยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การที่ธนาคารฯ ได้ทำเรื่องเบิกค่าจ้างในการดำเนินคดีโดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย จึงไม่ถูกต้อง กยศ ขอทราบว่า ความเข้าใจของ กยศ ในกรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพื่อ กยศ จะได้ใช้เป็นแนวทางในการจ่ายเงินค่าจ้างในการดำเนินคดีให้แก่ธนาคารฯ ต่อไป
แนววินิจฉัย           กรณีธนาคารฯ ได้รับจ้างบริการและจัดการเงินให้กู้ยืมกับ กยศ ตามสัญญาว่าจ้างบริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กรณีธนาคารฯ ต้องดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมเพื่อบังคับชำระหนี้ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา ค่าตอบแทนที่ธนาคารฯ ได้รับตามสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีดังกล่าว จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าว่าความที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
เลขตู้: 77/39000

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020