มาตรา 1 กฎหมายนี้ให้เรียกว่า " ประมวลรัษฎากร "
มาตรา 2 ในประมวลรัษฎากรนี้เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามประมวลรัษฎากรนี้
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.60/2539 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.102/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.120/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.127/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.132/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.133/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.142/2547 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.143/2547 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.162/2550 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.170/2552 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.183/2553 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.215/2557 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.216/2557 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.217/2557 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.233/2557 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.238/2558 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.246/2558 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.247/2558 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.260/2559 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.274/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.278/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.282/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.283/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.285/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.286/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.297/2561 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.313/2562 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.326/2563 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.327/2563 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.352/2566 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.353/2566 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.360/2567 )
"ผู้ว่าราชการจังหวัด" หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย
"อำเภอ" หมายความว่า นายอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ หรือสมุห์บัญชีเขต
"นายอำเภอ" หมายความรวมถึงหัวหน้าเขต และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอด้วย
"ที่ว่าการอำเภอ" หมายความรวมถึงที่ว่าการเขต และที่ว่าการกิ่งอำเภอด้วย
"องค์การของรัฐบาล" หมายความว่า องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และหมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย
"ประเทศไทย" หรือ " ราชอาณาจักร " หมายความรวมถึงเขตไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิของประเทศไทย ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป และตามความตกลงกับต่างประเทศด้วย
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับ 9 พ.ย. 2520 เป็นต้นไป )
มาตรา 3 บรรดารัษฎากรประเภทต่าง ๆ ซึ่งเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรนี้ จะตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อการต่อไปนี้ก็ได้ คือ
(1) ลดอัตรา หรือยกเว้นเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ กิจการ หรือสภาพของท้องที่บางแห่งหรือทั่วไป
( ดูพระราชกฤษฎีกา ฯ )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2510 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2514 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 79) พ.ศ. 2521 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 205) พ.ศ. 2532 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 250) พ.ศ. 2535 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 282) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 288) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 290) พ.ศ. 2538 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 295) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 297) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 299) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 300) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 306) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 308) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 313) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 317) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 320) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 348) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 363) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 366) พ.ศ. 2543 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 369) พ.ศ. 2543 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 375) พ.ศ. 2543 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 378) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 380) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 384) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 388) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 390) พ.ศ. 2544 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 394) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 409) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 410) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 411) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 412) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 413) พ.ศ. 2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2546 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 415) พ.ศ. 2546 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 417) พ.ศ. 2546 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2546 )
(2) ยกเว้นแก่บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญา หรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 452) พ.ศ. 2549 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 457) พ.ศ. 2549 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 463) พ.ศ. 2549 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 676) พ.ศ. 2562 )
(3) ยกเว้นแก่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล องค์การศาสนา หรือองค์การกุศลสาธารณะ
การลดหรือยกเว้นตาม (1) (2) และ (3) นั้น จะตราพระราชกฤษฎีกายกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงก็ได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ. 2496 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 675) พ.ศ.2561 )
มาตรา 3 ทวิ ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรต้องได้รับโทษจำคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้มีอำนาจเปรียบเทียบโดยกำหนดค่าปรับแต่สถานเดียวในความผิดต่อไปนี้ เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 13 คือ
(1) ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ ซึ่งโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นอำนาจของอธิบดี ถ้าเกิดขึ้นในจังหวัดอื่นให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ความผิดที่มีโทษปรับหรือโทษจำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำซึ่งโทษจำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปีให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยอธิบดี อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ถ้าผู้ต้องหาใช้ค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มผู้ต้องหามิให้ถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดนั้น
ถ้าผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเห็นว่าไม่ควรใช้อำนาจเปรียบเทียบ หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้วผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือยอมแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อไป และในกรณีนี้ห้ามมิให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามกฎหมายอื่นอีก
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค. 2525 เป็นต้นไป )
มาตรา 3 ตรี บุคคลใดจะต้องเสียเงินเพิ่มภาษีอากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้ และบุคคลนั้นยินยอมและชำระเงินเพิ่มภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มบุคคลนั้นมิให้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีอากร
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ 25 เม.ย.2494 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512) )
มาตรา 3 จัตวา ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้บุคคลไปเสียภาษีอากร ณ ที่ว่าการอำเภอ รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ไปเสีย ณ สำนักงานแห่งอื่นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้การเสียภาษีอากรนั้น ให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งหัวหน้าสำนักงานแห่งนั้นได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ 25 เม.ย.2494 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.7/2528 )
มาตรา 3 เบญจ เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ให้อธิบดีมีอำนาจเข้าไปหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดเพื่อทำการตรวจค้น ยึด หรืออายัดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสียได้ทั่วราชอาณาจักร
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือสรรพากรเขตมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคหนึ่ง สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดหรือเขตนั้น
การทำการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบกิจการนั้น
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25 ) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค.2525 เป็นต้นไป )
มาตรา 3 ฉ บรรดาบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสีย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศเจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้บุคคลใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จภายในเวลาที่สมควรก็ได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )
มาตรา 3 สัตต เพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร การตรวจสอบและรับรองบัญชีจะกระทำได้ก็แต่โดยบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
บุคคลที่จะขอใบอนุญาตจากอธิบดีตามความในวรรคก่อน ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
บุคคลใดได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว ถ้าฝ่าฝืนระเบียบที่อธิบดีกำหนด อธิบดีอาจพิจารณาสั่งถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้จะใช้บังคับในเขตจังหวัดใด ให้อธิบดีประกาศโดยอนุมัติรัฐมนตรี
การประกาศ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร การอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรของผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร องค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมทางด้านกฎหมายภาษีอากรแก่ผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 )
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคำขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาการสะสมผลการทดสอบ การยื่นคำขอแจ้งการเข้ารับการอบรม และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบคำขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการยื่นแบบคำขอ/แบบแจ้งเกี่ยวกับการตรวจสอบ และรับรองบัญชี ตาม มาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 3))
(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นองค์กรวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบในการจัดอบรมแก่ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ฉบับที่ 4))
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.98/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.123/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.146/2548 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.147/2548 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.194/2555 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.263/2559 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.356/2567 )
มาตรา 3 อัฏฐ กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการหรือแจ้งรายการต่าง ๆ ก็ดี กำหนดเวลาการอุทธรณ์ก็ดี หรือกำหนดเวลาการเสียภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ก็ดี ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทย หรือมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้ เมื่ออธิบดีพิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือให้เลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้
( ดูประกาศอธิบดีฯ เรื่องขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร )
( ดูประกาศอธิบดีฯ เรื่องขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.128/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545 )
กำหนดเวลาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรนี้ เมื่อรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควร จะขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และการขยายระยะเวลาชำระภาษีสำหรับผู้ที่ต้องออกจากราชการหรือออกจากงานโดยไม่มีความผิด )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3))
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 1) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 2) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 3) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 4) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 5) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 6) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 7) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ฉบับที่ 8) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 7) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 8) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545 )
( ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และการนำส่งภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต )
(ยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษีการนำส่งภาษี หรือการยื่นรายการ บัญชีหรือรายงานตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์)
( ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาฯ )
(ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การนำส่งภาษี หรือการยื่นรายการ บัญชีหรือรายงานตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์)
มาตรา 3 นว ผู้ใดรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกหรือขัดขวางเจ้าพนักงานผู้กระทำการ ตามหน้าที่ ตามความในมาตรา 3 เบญจ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป )
มาตรา 3 ทศ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามความใน มาตรา 3 ฉ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับ 10 ก.พ.2496 เป็นต้นไป)
มาตรา 3 เอกาทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้โดยอนุมัติรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25 ) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค.2525 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 บังคับใช้ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร )
มาตรา 3 ทวาทศ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับ 9 พ.ย. 2520 เป็นต้นไป )
มาตรา 3 เตรส ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามลักษณะ 2 หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ในการนี้ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 และมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ 31 ธ.ค. 2521 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 203 (พ.ศ.2539) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 229 (พ.ศ.2544) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 234 (พ.ศ.2544) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 238 (พ.ศ.2545) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 273 (พ.ศ.2553) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 296 (พ.ศ.2555) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 320 (พ.ศ.2559) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 328 (พ.ศ.2560) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 353 (พ.ศ.2562) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 361 (พ.ศ.2563) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 373 (พ.ศ.2564) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 389 (พ.ศ.2566) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 292) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.106/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.111/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.115/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.117/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.139/2547 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.176/2552 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.181/2553 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.205/2556 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.209/2556 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.259/2559 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.266/2559 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.280/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.281/2560 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.319/2563 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.324/2563 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.328/2563 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.336/2564 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.8/2528 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.20/2531 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.91/2542 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.114/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.136/2551 )
มาตรา 3 จตุทศ ในกรณีที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งก่อน ไม่ว่าการจ่ายเงินนั้นจะเกิดขึ้นจากคำสั่งหรือ คำบังคับของศาล หรือตามกฎหมาย หรือเหตุอื่นใดก็ตาม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย. 2526 เป็นต้นไป )
มาตรา 3 ปัณรส เพื่อประโยชน์ในการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 การนำส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีอาจเลือกวิธีนำส่งเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงแทนวิธีนำส่งตามที่บัญญัติในมาตราที่เกี่ยวข้องก็ได้
( กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งจะกำหนดระยะเวลานำส่งเงินภาษีเกินกว่าที่บัญญัติในมาตราที่เกี่ยวข้อง แต่ละกรณีไม่ได้ )
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
(ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 364 (พ.ศ.2563))
(ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร)
มาตรา 3 โสฬส บรรดาหมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร แบบ ใบกำกับภาษี รายงาน เอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใด ที่ต้องมี จัดทำ หรือใช้ ตามที่บัญญัติในประมวลรัษฎากร และบรรดาเอกสารหลักฐานหรือหนังสือที่กรมสรรพากรต้องใช้ในการติดต่อกับผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใด หรือที่ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดต้องใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพากร อาจกระทำด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดทำ การส่ง การรับ ตลอดจนการเก็บรักษาที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติที่มีผลแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเสียหรือการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 10 ให้ใช้บังคับสำหรับรายรับหรือการจ่ายเงินตั้งแต่วันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ดถัดจากเดือนที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 30) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์บนระบบโครงข่ายบล็อกเชน (Blockchain))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 235))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236))
(ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 377 (พ.ศ.2564))
(ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 384 (พ.ศ.2565))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 372))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 373))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 61))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 62))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง การยื่นแบบคำขอใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2564)
(ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำ ส่ง หรือเก็บรักษา ใบกำกับภาษี โดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp))
(ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำ ส่ง หรือเก็บรักษา ใบกำกับภาษี หรือใบรับ โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ในการลงลายมือชื่อ)
มาตรา 3 สัตตรส เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมาเฉพาะที่อยู่ในความครอบครองต่อกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
ธุรกรรมลักษณะเฉพาะตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดในปีที่ล่วงมา ดังต่อไปนี้
(1) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่สามพันครั้งขึ้นไป
(2) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่สี่ร้อยครั้งและมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
รายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงานตามวรรคหนึ่ง และวิธีการรายงาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562) )
จำนวนครั้งหรือยอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินตามวรรคสอง ให้กำหนดเพิ่มขึ้นได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้อธิบดีมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับตามมาตรานี้และให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่กรมสรรพากรได้รับข้อมูล
(การส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากรครั้งแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563)
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร)
(ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะครั้งแรกให้แก่ผู้มีหน้าที่รายงาน)
มาตรา 3 อัฏฐารส ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รายงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 3 สัตตรส ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้มีหน้าที่รายงานปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
ผู้มีหน้าที่รายงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประมวลรัษฎากรนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานอื่นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากับออกกฎกระทรวง
(1) ให้ใช้หรือให้ยกเลิกแสตมป์โดยกำหนดให้นำมาแลกเปลี่ยนกับแสตมป์ที่ใช้ได้ภายในเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาไม่น้อยกว่าหกสิบ
(2) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรนี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 ใช้บังคับ 25 ต.ค. 2513 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานฯ)
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 6) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 8) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 10) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 11) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 13) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 16) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 17) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 19) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 21) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 22) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 24) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 33) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 35) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 36) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 37) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 39) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 40) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 42) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 65) )
( ดูกฎกระทรวง )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 ( พ.ศ.2546 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 242 ( พ.ศ.2546 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 243 ( พ.ศ.2547 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 250 ( พ.ศ.2548 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 252 ( พ.ศ.2548 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 254 ( พ.ศ.2548 ) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 363 (พ.ศ.2563) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 364 (พ.ศ.2563) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 369 (พ.ศ.2563) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 370 (พ.ศ.2563) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 371 (พ.ศ.2563) )
( ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร )
มาตรา 4 ทวิ คนต่างด้าวผู้ใดจะเดินทางออกจากประเทศไทยต้องเสียภาษีอากรที่ค้างชำระ และหรือที่จะต้องชำระแม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระ หรือจัดหาประกันเงินภาษีอากรให้เสร็จสิ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้ก่อนออกเดินทาง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป)
มาตรา 4 ตรี ให้คนต่างด้าวซึ่งจะเดินทางออกจากประเทศไทยยื่นคำร้องตามแบบที่อธิบดีกำหนด เพื่อขอรับใบผ่านภาษีอากรภายในกำหนดเวลาไม่เกินสิบห้าวันก่อนออกเดินทาง ไม่ว่ามีภาษีอากรที่ต้องชำระหรือไม่
การยื่นคำร้องตามความในวรรคก่อน ถ้าผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาหรือพักอยู่ในเขตจังหวัดพระนครหรือจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ถ้ามีภูมิลำเนาหรือพักอยู่ใน เขตจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
คนต่างด้าวผู้ใดไม่ยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรตามความในวรรคก่อน หรือยื่นคำร้องแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบผ่านภาษีอากร เดินทางออกจากประเทศไทย หรือพยายามเดินทางออกจากประเทศ นอกจากจะมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้ ให้คนต่างด้าวผู้นั้นเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของเงินภาษีอากรที่จะต้องเสียทั้งสิ้นอีกด้วย เงินเพิ่มตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นค่าภาษีอากร
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16 ) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.183/2553)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
มาตรา 4 จัตวา บทบัญญัติมาตรา 4 ทวิ และมาตรา 4 ตรี ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวผู้เดินทางผ่านประเทศไทย หรือเข้ามา และอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะรวมกันไม่เกินเก้าสิบวันในปีภาษีใด โดยไม่มีเงินได้พึงประเมิน หรือคนต่างด้าวที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้คนต่างด้าวผู้เดินทางออกจากประเทศไทยไม่ต้องขอรับใบผ่านภาษีอากร )
มาตรา 4 เบญจ ให้ผู้รับคำร้องตามมาตรา 4 ตรี ตรวจสอบว่า ผู้ยื่นคำร้องมีภาษีอากรที่จะต้องเสียตามมาตรา 4 ทวิ หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ออกใบผ่านภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่ผู้ยื่นคำร้อง
ถ้าในการตรวจสอบตามความในวรรคก่อนปรากฏว่า ผู้ยื่นคำร้องมีเงินภาษีอากรที่ต้องเสียตามมาตรา 4 ทวิ และผู้ยื่นคำร้องได้นำเงินภาษีอากรมาชำระครบถ้วนแล้วก็ดี หรือไม่อาจชำระได้ทั้งหมดหรือได้ชำระแต่บางส่วน และผู้ยื่นคำร้องได้จัดหาผู้ค้ำประกันหรือหลักประกันที่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเห็นสมควรมาเป็นประกันเงินค่าภาษีอากรนั้นแล้วก็ดี ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายออกใบผ่านภาษีอากรให้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย.2502 เป็นต้นไป )
มาตรา 4 ฉ ในกรณีที่ผู้รับคำร้องตามมาตรา 4 ตรี พิจารณาเห็นว่า ผู้ยื่นคำร้องมีเหตุผลสมควรจะต้องเดินทางออกจากประเทศไทยเป็นการรีบด่วนและชั่วคราว และผู้ยื่นคำร้องมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระ ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายออกใบผ่านภาษีอากรให้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )
มาตรา 4 สัตต ภายใต้บังคับมาตรา 4 อัฏฐ ใบผ่านภาษีอากรให้มีอายุใช้ได้สิบห้าวันนับแต่วันออก ถ้ามีการขอต่ออายุใบผ่านภาษีอากรก่อนสิ้นอายุ อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต่ออายุให้อีกสิบห้าวันก็ได้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )
มาตรา 4 อัฏฐ คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าออกประเทศไทยเป็นปกติธุระเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ จะยื่นคำร้องต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี ขอให้ออกใบผ่านภาษีอากรให้ใช้เป็นประจำก็ได้ ถ้าผู้รับคำร้องพิจารณาเห็นว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีความจำเป็นดังที่ร้องขอ และมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระแล้ว จะออกใบผ่านภาษีอากรให้ตามแบบที่อธิบดีกำหนดก็ได้ ใบผ่านภาษีอากรเช่นว่านี้ให้มีกำหนดเวลาใช้ได้ตามที่ระบุในใบผ่านภาษีอากรนั้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออก
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.114/2545 )
มาตรา 4 นว คนต่างด้าวผู้ใดเดินทางออกจากประเทศไทยโดยไม่มีใบผ่านภาษีอากร ซึ่งต้องมีตามความในประมวลรัษฎากรนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
คนต่างด้าวผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับ 4 พ.ย. 2502 เป็นต้นไป )
มาตรา 4 ทศ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
ดอกเบี้ยที่ให้ตามวรรคหนึ่งมิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน และให้จ่ายจากเงินภาษีอากรที่จัดเก็บได้ตามประมวลรัษฎากรนี้
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค. 2525 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) )