เมนูปิด

          การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการหักค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อน การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสำหรับบุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 มีรายละเอียดดังนี้

 

 

รายการ

ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2560

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560

เป็นต้นไป

หมายเหตุ

1.  การหักค่าใช้จ่าย

    -  เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) 

 

ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

 

ร้อยละ 50 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 

ตามมาตรา 42 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44)
พ.ศ. 2560

    -  เงินได้ตามมาตรา 40(3)

เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์ ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

เฉพาะ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
- ร้อยละ 50 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท หรือ
- หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร

ตามมาตรา 42 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44)
พ.ศ. 2560 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 634) พ.ศ.2560
 

2.  การหักลดหย่อน

     -  ผู้มีเงินได้ 

 

30,000 บาท

 

60,000 บาท

 

ตามมาตรา 47(1)(ก)(ข)(ค)(ฉ)(2)(3) และ (4)(5)(6) แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

     -  คู่สมรสของผู้มีเงินได้ 

30,000 บาท 

60,000 บาท หากต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ รวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท

  

     -  บุตร

คนละ 15,000 บาท จำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน

คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร** และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษา

 **ในกรณีผู้มีเงินได้มีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก เว้นแต่
• ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้
• แต่ถ้าบุตรชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักได้ โดยเมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องไม่เกิน 3 คน

     -  ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

30,000 บาท

60,000 บาท

  

     -  กองมรดก

30,000 บาท

60,000 บาท

  

    -  ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

คนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

 

3.  การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร 

 

 

 

 

 

 

    นำเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร คูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน

เงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป

เงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป

มาตรา 48(2) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

4.  เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำ (ต่อปี)

    4.1  โสด 

 

 

 

 

มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

     - เงินได้เงินเดือนประเภทเดียว  

มีเงินได้เกิน 50,000 บาท

มีเงินได้เกิน 120,000 บาท

 

     - เงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน 

มีเงินได้เกิน 30,000 บาท

มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

 

     4.2  สมรส

  

 

  

     - เงินเดือนประเภทเดียว

มีเงินได้เกิน 100,000 บาท

ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 220,000 บาท

  

     - เงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน 

มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท 

  

     4.3 กองมรดก 

มีเงินได้เกิน 30,000 บาท

มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

 

    4.4  กองมรดก

มีเงินได้เกิน 30,000 บาท

มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

 

5.  บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

เงินได้สุทธิ            อัตราภาษี (ร้อยละ)

 

เงินได้สุทธิ                  อัตราภาษี (ร้อยละ)

 

*การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

 

1 - 300,000*                           5

1 - 300,000*                           5

 

 

300,001 - 500,000                 10

300,001 - 500,000                 10

 

 

500,001 - 750,000                 15

500,001 - 750,000                 15

  

 

750,001 - 1,000,000              20

750,001 - 1,000,000              20

  

 

1,000,001 - 2,000,000           25

1,000,001 - 2,000,000           25

  

 

2,000,001 - 4,000,000           30

2,000,001 - 5,000,000           30

 

 

4,000,001 ขึ้นไป                    35

5,000,001 ขึ้นไป                    35

 

 

 

 

  

RD Intelligence Center

บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 09-01-2021