“ร้อยเรื่องลดหย่อน ปีภาษี 2560”
1 .ชื่อเรื่อง : บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 หักค่าลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของเงินบริจาค
คำถาม : นาย ก. บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนเงินบริจาคมีหลักเกณฑ์อย่างไร
คำตอบ : ผู้บริจาคสามารถนำเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่ได้บริจาคระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 มาหักเป็นค่าลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ 1.5 เท่า โดย
1. เป็นการบริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคที่เป็น
- ส่วนราชการ มูลนิธิ องค์การหรือสถานสาธารณกุศลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
- ตัวแทนรับบริจาคที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่ได้ขึ้นทะเบียนแจ้งขอเป็นตัวแทนรับบริจาคกับกรมสรรพากร เช่น สถานีโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุ
ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ต้องการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น
2. ผู้บริจาคมีสิทธิหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายดังนี้
- บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงิน สามารถนำจำนวนเงินดังกล่าวไปหักลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.5 เท่า แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมิน หลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อน และใช้สำหรับการหักลดหย่อนของปีภาษี 2560 ที่จะต้องยื่นรายการ ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม 2561
3. หลักฐานการรับบริจาค ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560
- หลักฐานการรับเงิน หรือทรัพย์สิน ที่มีข้อความระบุว่าเป็นโครงการหรือเป็นการบริจาค เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ โดยอาจระบุช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัยไว้ด้วย
- หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในช่วงระยะเวลาที่เกิดอุทกภัย ซึ่งพิสูจน์ผู้โอน และผู้รับโอนได้
2 .ชื่อเรื่อง : การหักลดหย่อนค่าซ่อมแซมบ้าน กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้
คำถาม : นาย ข. ได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมบ้าน จากเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนค่าซ่อมแซมบ้าน มีหลักเกณฑ์อย่างไร
คำตอบ : ลดหย่อนภาษีค่าซ่อมบ้านที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์
ให้ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีสำหรับจำนวนเงินที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร หรือที่อยู่ในเขตอาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่มีการประกอบติดตั้งติดกับตัวอาคารหรือในเขตอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับ ความเสียหายจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 และ วันที่ 5 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ทั้งนี้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องมีการจ่ายค่าซ่อมภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560
ตัวอย่างเช่น
(1) ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร เช่น ค่าสีทาบ้าน ห้องชุดในอาคารชุด หรือตึกแถว ค่ากระเบื้อง ค่าฝ้าเพดาน ค่าหลังคา ค่าอิฐ ค่าปูน ที่ใช้ในการซ่อมแซม และค่าแรงในการซ่อมแซม
(2) ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่มีการประกอบติดตั้งติดกับตัวอาคารหรือห้องชุด เช่น ค่าซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ built-in
(3) ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่มีการประกอบติดตั้งติดอยู่ในเขตอาคาร เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมรั้ว ประตูรั้ว กำแพง โรงรถ สระว่ายน้ำ บ่อเลี้ยงปลา รวมทั้งค่าแรง
3 ชื่อเรื่อง : การหักลดหย่อนค่าซ่อมแซมรถ กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้
คำถาม : นาย ค. ได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมรถยนต์ จากเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนค่าซ่อมแซมรถยนต์ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
คำตอบ : ลดหย่อนภาษีค่าซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีซ่อมแซมรถ
ให้ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีสำหรับจำนวนเงินที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถ ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 2560 และ วันที่ 5 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ทั้งนี้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยต้องมีการจ่ายค่าซ่อมภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560
ตัวอย่างเช่น
ค่าซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ค่าซ่อมตัวเครื่องยนต์ ค่าซ่อมแซมสีรถ เบาะรถ ล้อรถ ระบบแอร์ในรถ หรืออุปกรณ์ที่ติดกับตัวรถซึ่งเสียหายจากการถูกน้ำท่วม โดยรถนั้นจะต้องเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ทั้งนี้ ค่าซ่อมแซมบ้านและค่าซ่อมแซมรถดังกล่าวที่จ่ายในปี 2560 ให้ใช้สำหรับการคำนวณเสียภาษีเพื่อ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ประจำปีภาษี 2560 ที่จะต้องยื่นรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 ให้ผู้เสียภาษีเก็บเอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีด้วย
4 .ชื่อเรื่อง : ค่าซ่อมแซมบ้านหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
คำถาม : นาย ค. ได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมบ้านให้แก่ นาย ง เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท เมื่อเดือนเมษายน 2560 ให้แก่นาย บ. ไม่มีหลักฐานใบเสร็จ จะหักลดหย่อนได้หรือไม่
คำตอบ : นาย ค. สามารถลดหย่อนค่าซ่อมแซมบ้านได้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
2 ผู้มีเงินได้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่า หรือผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประกอบกิจการ หรือใช้ประโยชน์อื่น
3 ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินมากกว่าหนึ่งแห่ง ให้รวมคำนวณค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรือวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินทุกแห่งเข้าด้วยกัน
ต้องมีเอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่แสดงชื่อพร้อมที่อยู่และลายมือชื่อของผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจำนวนเงินที่จ่าย หรือ หลักฐานอื่นที่พิสูจน์หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินได้ได้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น
5 .ชื่อเรื่อง : ค่าซ่อมแซมรถยนต์หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
คำถาม : นาย ช. ได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมรถยนต์ให้แก่ นาย ง เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท เมื่อเดือนเมษายน 2560 ให้แก่นาย ฌ. ไม่มีหลักฐานใบเสร็จ จะหักลดหย่อนได้หรือไม่
คำตอบ : นาย ช. สามารถลดหย่อนค่าซ่อมแซมรถยนต์ได้หากได้มีการจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 และ วันที่ 5 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2560 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท มีหลักเกณฑ์ดังนี้
2 ผู้มีเงินได้ได้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าซื้อรถยนต์นั้น
3 ในกรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถมากกว่าหนึ่งคัน ให้รวมคำนวณค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถทุกคันเข้าด้วยกัน
ต้องมีเอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่แสดงชื่อพร้อมที่อยู่และลายมือชื่อของผู้รับเงิน ชื่อของผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย และจำนวนเงินที่จ่าย หรือ หลักฐานอื่นที่พิสูจน์หรือแสดงได้ว่าผู้มีเงินได้ได้เป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น