เมนูปิด

คำถามถามบ่อย

  • การติดตามการขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

Q 1  : จะติดตามการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อย่างไร
A 1   : สามารถตรวจสอบสถานะ การขอคืนภาษีด้วยเองผ่านเว็บไซต์กรมสรรรพากร 
เมนู  : บริการสอบถามข้อมูลการคืนภาษี

 

Q 2  :  หากเจ้าหน้าที่ขอเอกสารเพิ่มเติมจะส่งผ่านช่องทางได้บ้าง
A 2   :  สามารถส่งเอกสารโดยทาง:
          1. อินเตอร์เน็ต
          2. โทรสารหมายเลข 0-2660-3100 (อัตโนมัติ)
(นอกเขตกรุงเทพมหานคร เสียค่าบริการทางไกลตามราคาของแต่ละหน่วยงานที่ท่านใช้บริการ)
          3. โทรสารสำนักงานสรรพากรพื้นที่………………….(ตามที่ระบุในใบนำส่ง)
4. ไปรษณีย์
หมายเหตุ  ในการนำส่ง กรุณาพิมพ์ ใบนำส่งเอกสารโดยคลิกที่ปุ่ม “ใบนำส่งเอกสาร” และนำปะหน้าเอกสารที่ท่านนำส่งทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์แก่ท่านในการพิจารณา คืนเงินภาษีรวดเร็วขึ้น (ให้ระบุเลขแผ่นของจำนวนเอกสารที่นำส่ง พร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ ติดต่อกลับ กรณีที่เอกสารไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกลับได้)

 

Q 3  :  จะทราบได้อย่างไรว่ากรมสรรพากรต้องการเอกสารเพื่อตรวจสอบหรือไม่
A 3  :  กรมสรรพากรจะส่ง SMS แจ้งเตือนให้ตรวจสอบสถานการณ์ขอคืนหน้าเว็บไซต์ (เฉพาะผู้ที่แจ้งความประสงค์จะให้กรมสรรพากรส่ง SMS เท่านั้น) หรือตรวจสอบสถานะ การขอคืนด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์กรมสรรรพากร เมนู  : บริการสอบถามข้อมูลการคืนภาษี



Q 4  :  การส่งเอกสารให้ตรวจ หากส่งล่าช้ามีผลต่อการคืนภาษีหรือไม่
A 4  :  การส่งเอกสารภายในกำหนดเวลา จะเป็นเป็นประโยชน์แก่ท่านในการพิจารณา คืนเงินภาษีรวดเร็วขึ้น

 

Q 5  :  กรณีได้รับเงินคืนน้อยกว่าที่ขอคืนไว้
A 5  :   กรมสรรพากรจะมีหนังสือแจ้งคืนเงิน ค.21  ซึ่งจะระบุเหตุผลที่ได้คืนลดลงให้ทราบ  หากไม่เห็นด้วยสามารถยื่นคำร้องขอคัดค้านได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่รับหนังสือ โดยยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น 

 

 

คำถามถามบ่อย

  • การคืนเงินภาษีผ่านระบบ PromptPay

Q 1  :  ยืนยันไม่ประสงค์จะสมัครพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะคืนเงินภาษีอย่างไร
A 1  :  กรมสรรพากรมิได้บังคับในการลงทะเบียนพร้อมเพย์ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของท่าน หากท่านมิได้สมัครลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะยังคงส่งเช็คคืนภาษีทางไปรษณีย์เช่นเดิม


Q 2  :  หากได้ไปสมัครพร้อมเพย์ภายหลังยื่นแบบแสดงรายการ  ต้องแจ้งกรมสรรพากรหรือไม่
A 2  :  หากได้สมัครลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับธนาคารแล้ว กรมสรรพากร        จะดำเนินการตรวจสอบกับธนาคารและโอนเงินคืนภาษีเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของท่านโดยเร็ว    โดยที่ไม่ต้องแจ้งกรมสรรพากรทราบแต่อย่างใด


Q 3  :  หากได้สมัครพร้อมเพย์ไว้แล้ว ต่อมาได้ไปยกเลิก ทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถนำเงินเข้าบัญชีได้ จะต้องทำอย่างไร
A 3  :  หากยังคงมีความประสงค์จะให้กรมสรรพากรนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ขอให้ติดต่อกับธนาคารเพื่อลงทะเบียนพร้อมเพย์ใหม่อีกครั้ง หลังจากลงทะเบียนพร้อมเพย์ใหม่แล้ว กรมสรรพากรจะคืนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารต่อไป หรือหากไม่ประสงค์จะลงทะเบียนพร้อมเพย์ใหม่ กรมสรรพากรจะส่งเช็คคืนภาษีทางไปรษณีย์ให้ต่อไป

 

Q 4  :  กรมสรรพากรคืนเงินเข้าบัญชีแล้ว จะทราบได้อย่างไรว่าเข้าบัญชีของธนาคารใด
A 4  :  สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง

  • ช่องทางปกติ ตรวจสอบจากสมุดบัญชีเงินฝากทุกบัญชีของทุกธนาคารที่มี  เช่น  เคยเปิดบัญชีไว้กับธนาคารใดบ้าง เช่น ธกส.  ธอส.  ออมสิน  กรุงไทย เป็นต้น
  • ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์  กรณีมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารใด สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์   ของธนาคาร , ตู้ ATM หรือ Application Mobile ของแต่ละธนาคารได้ โดยในการทำรายการเลือกบริการ Promptpay เมื่อได้ระบุเลขประจำตัวประชาชน ระบบของธนาคารจะสามารถแจ้งได้ว่าท่านได้เคยลงทะเบียนไว้กับธนาคารใด  จากนั้นขอให้ท่านติดต่อกับธนาคารนั้น ๆ โดยตรง         

 

Q 5  :  ไม่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ เหตุใดกรมสรรพากรนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากได้
A 5  :  กรมสรรพากรจะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากได้ เมื่อมีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับธนาคารที่มีเงินเข้าบัญชีได้โดยตรง เกี่ยวกับวิธีการหรือขั้นตอนการลงทะเบียนพร้อมเพย์

 

Q 6  :  ถ้าลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้แล้ว ต่อมาประสงค์จะยกเลิกการลงทะเบียน จะต้องทำอย่างไร
A 6  :  การลงทะเบียนและยกเลิกการลงทะเบียน ขอให้ติดต่อกับธนาคารที่ได้ผูกบัญชีไว้โดยตรง

 

Q 7  :  ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้แล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าได้ลงทะเบียนด้วยมือถือหรือเลขประจำตัวประชาชน
A 7  :  การตรวจสอบการลงทะเบียน ขอให้ติดต่อสอบถามกับธนาคารที่ได้ผูกบัญชีไว้โดยตรง

     

 

คำถามถามบ่อย

  • การยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเทอร์เน็ต

Q 1  :  การยื่นแบบเพิ่มเติม จะต้องทำรายการอย่างไร
A 1   : ให้ทำรายการใหม่ที่ถูกต้องใหม่ทั้งหมด  จากนั้นรายการหน้าสุดท้ายของแบบแสดงรายการ  
ข้อสังเกต 
แบบ ภ.ง.ด.91  ข้อ 21 หากแบบฉบับปกติ (ฉบับแรก) ไม่มีภาษีชำระเพิ่ม ให้ระบุ  0 (เลขศูนย์)
แบบ ภ.ง.ด.91  ข้อ 21 หากแบบฉบับปกติ (ฉบับแรก) มีภาษีชำระเพิ่ม ให้ระบุ จำนวนเงินที่ชำระ
แบบ ภ.ง.ด.90  ข้อ 24 หากแบบฉบับปกติ (ฉบับแรก) ไม่มีภาษีชำระเพิ่ม ให้ระบุ  0 (เลขศูนย์)
แบบ ภ.ง.ด.90  ข้อ 24 หากแบบฉบับปกติ (ฉบับแรก) มีภาษีชำระเพิ่ม ให้ระบุ จำนวนเงินที่ชำระ

 

Q 2  :  จะทราบได้อย่างไรว่า ได้ทำรายการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตสำเร็จ
A 2   :  ให้ทำการ Login ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอีกครั้งจะมี Pop- up เตือนว่า 

ท่านได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แบบปกติ ปีภาษี 2560 ผ่าน Internet แล้ว
หากประสงค์จะยื่นแบบฯเพิ่มเติม โปรดกดปุ่ม  OK
หากไม่ประสงค์จะยื่นแบบฯเพิ่มเติม  โปรดกดปุ่ม Cancel

              

Q 3  :  จำหมายเลขสมาชิกและรหัสผ่านในการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ได้
A 3   : กรณีลืมรหัสผ่าน ขอให้เข้าสู่ระบบ “ลืมรหัสผ่าน” ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรรพากร www.rd.go.th เลือก “ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต” เมนู Hotlink เลือก “ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา      ปีภาษี 2559” ภ.ง.ด.90/91 ยื่นด้วยตนเอง คลิก “ลืมรหัสผ่าน” เลือกประเภท การลงทะเบียน (เพื่อตั้งรหัสผ่านใหม่) กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและระบุคำถามคำตอบที่ได้ให้ไว้เมื่อครั้งที่สมัครเข้ายื่นแบบฯ เพื่อความปลอดภัยสำหรับข้อมูล ระบบจะให้กรอกรหัสผ่านใหม่ได้ด้วยตัวเอง ให้ทำการกรอกรหัสผ่านใหม่และกรอกรหัสผ่านอีกครั้ง แล้วคลิก “ยืนยัน” ระบบจะแสดงข้อความ “การตั้งรหัสผ่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว” โดยไม่มีการแจ้งหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านทางหน้าจออีก

 

Q 4  :  การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตหากมีภาษีต้องชำระ เลือกชำระผ่านตู้  ATM  ต้องทำอย่างไร
A 4   : การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเลือกวิธีการชำระเงินทาง ATM ระบบจะแจ้งรหัส  3 กลุ่มได้แก่ 

  • เลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (13/10 หลัก)
  • รหัสควบคุม (15 หลัก)
  • จำนวนภาษีที่ต้องชำระ 

ให้นำรหัสทั้ง 3 กลุ่มที่ระบบออกให้ไปทำรายการชำระเงิน ณ เครื่อง ATM โดยสามารถใช้ บัตร ATM ของผู้อื่นได้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นบัตรของผู้เสียภาษีที่ประสงค์จะชำระภาษี แต่มีข้อจำกัด คือต้องทำรายการชำระเงิน ณ เครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตร เช่น ใช้บัตรของธนาคารกรุงไทย จะต้องไปชำระเงิน ณ เครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

 

Q 5  :  การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91/94 ผ่าน Counter ของธนาคาร
A 5   :  การชำระภาษีผ่านทาง Counter Service ของธนาคาร ระบบจะแสดง Pay–In-Slip เพื่อนำไปชำระภาษีผ่าน Counter ของธนาคาร โดยกำหนดให้ชำระด้วยเงินสด
กรณีชำระด้วยเช็ค ต้องเป็นเช็คของธนาคาร สาขาที่เปิดบัญชี และใช้บริการชำระภาษี ณ สาขานั้นๆ โดยระบุผู้รับเงินคือ “กรมสรรพากร”

 

Q 6  :  ได้มีการชำระภาษีผ่านช่องทางธนาคารแล้ว เหตุใดระบบกรมสรรพากรยังคงมีสถานะ “ค้างชำระ”
A 6  :  หากได้มีการชำระภาษีแล้วสามารถเก็บ Slip ของธนาคารไว้เป็นหลักฐานในการชำระภาษีได้        ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะทำการออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้อีกครั้งหนึ่งภายใน 3 วันทำการ          ซึ่งหน้าจอ “ค้างชำระ” จะไม่มีอีกเมื่อกรมสรรพากรออกหลักฐานใบเสร็จรับเงิน


Q 7  :  หากทำรายการยื่นแบบฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถชำระเงินได้ภายในกำหนดเวลาจะถือว่าได้มีการยื่นแบบฯแล้วหรือไม่
A 7   : การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้มีการชำระเงินเต็มตามจำนวนเงินภาษีและโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น หากดำเนินการยื่นแบบฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กรมสรรพากรจะถือว่าไม่ได้ยื่นแบบฯ และยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบฯ พร้อมทั้งชำระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ เนื่องจากเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯจะไม่สามารถยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตได้​

Q 8  :  หากรหัสควบคุม (Control Code) ที่ระบบออกให้ เพื่อนำไปสั่งชำระเงิน ณ หน่วยรับชำระภาษีสูญหาย ต้องดำเนินการอย่างไร
A 8  :  กรณีรหัสควบคุม (Control Code) การชำระภาษีสูญหายสามารถขอรับรหัสควบคุม (Control Code) ใหม่ได้ โดยเลือก บริการยื่นแบบ == > เลือกประเภทแบบแสดงรายการ == > Log in เข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) == > ระบบจะแสดงรายการค้างชำระ == > double click ที่หมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบ == > ระบบจะแสดงแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นไว้ == > เลือก ตกลง == > ระบบจะให้เลือกช่องทางการชำระภาษีใหม่อีกครั้ง == > เลือกวิธีการชำระเงิน       เพื่อนำไปสั่งชำระเงินได้ตามปกติ​


Q 9  :  ลืมรหัสผ่าน และ จำคำถาม-คำตอบ ไม่ได้ ต้องดำเนินการอย่างไร
A 9  :  กรณีที่ท่านลืม คำถาม และหรือ คำตอบ ขอให้ท่านเข้าสู่ระบบ "ขอรหัสผ่านใหม่" เพื่อท่านจะได้รหัสผ่านใหม่ในการยื่นแบบฯ  

 

 

คำถามถามบ่อย

  • การติดต่อ  1161 

Q 1  :  ติดต่อกรมสรรพากรผ่านช่องทางโทรศัพท์ 1161 สายไม่ว่าง รอสายนาน
A 1  :  หมายเลขโทรศัพท์ 1161 มีจำนวนคู่สายให้บริการ 120 คู่สาย
เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 18.00 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ
เนื่องจากเป็นช่วงของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี จึงทำให้มี
ผู้ใช้บริการติดต่อสอบถามเป็นจำนวนมาก

 

Q 2  :  ต้องการติดต่อใช้บริการ 1161 หลังเวลา 18.00 น. ได้หรือไม่ 
A 2  :   ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 ถึง วันที่ 9 เมษายน 2561
           ** เฉพาะวันทำการ ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 - 20.00 น. ทุกวันทำการ**
           ** วันเสาร์ ที่ 3, 10, 17, 24, 31  มีนาคม 2561 และ 7 เมษายน 2561 ให้บริการตั้งแต่เวลา           
           08.30 - 16.00 น. **
           เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 
          ทั้งนี้ ท่านสามารถรับฟังข้อมูลจากระบบอัตโนมัติ และรับเอกสารทางโทรสารได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง  

          

Q 3  :  นอกจาก  RD Intelligence Center  1161 ของกรมสรรพากรแล้ว จะติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ใด 
A 3  :  สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลภาษีเบื้องต้นผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1111 ซึ่งเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงได้

 

Q 4  :  ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับค่าลดหย่อน หรือ สอบถามเกี่ยวกับการยื่นแบบฯ  จะค้นหาได้จากเมนูใด 
A 4  :  สามารถค้นหา : ศูนย์สารนิเทศสรรพากร > RD Intelligence Center ขอบอก > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา >ปีภาษี 2560 

   

Q 5  :  ต้องการรับข่าวสารผ่าน Line  ต้องทำอย่างไร 
A 5  :   สามารถรับข่าวสารของสรรพากร ผ่าน Line@  ภายใต้ชื่อ   RD Intelligence Center 1161  

 

               Scan QR Code

หรือ 

เพิ่มเพื่อน

จัดทำโดย RD Intelligence Center 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 03-12-2021