เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่6652/2542 
นางลักษณา เพียรเจริญทรัพย์ โจทก์

กรมสรรพากร กับพวก

จำเลย
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป. รัษฎากรฯ (มาตรา 56,57 ตรี)

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเลขที่ 1932/1/102855 เลขที่ 1932/1/102856 และหนังสือแจ้งภาษีการค้าเลขที่ 1932/4/100204 กับคำวินิจฉัย อุทธรณ์เลขที่ นบ/0037/2540 เลขที่ นบ/0038/2540 และเลขที่ นบ/0039/2540
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้เพิกถอนการประเมิน ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลขที่ 1932/1/102855 และเลขที่ 1932/1/102856 กับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ นบ/0037/ 2540 และเลขที่ นบ/0038/2540 คำขอของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหา ต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาของโจทก์หรือไม่ เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก บัญญัติว่า "ในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้า สามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึง ประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และสามีมีหน้าที่และความรับ ผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่ถ้าภาษีค้างชำระและภริยา ได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันแล้ว ให้ภริยาร่วมรับผิดในการเสีย ภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณี ที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมิน ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี โดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิด ชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี ฉะนั้นหากภริยาเป็นผู้มีเงินได้พึง ประเมิน ส่วนสามีไม่มีเงินพึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ก็มิใช่กรณี การเรียกเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่กฎหมายบังคับให้ถือ เอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีซึ่งสามีมีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรก แต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ปรากฏว่า สามีของ โจทก์มีเงินได้พึงประเมิน และสามีโจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีประกอบกับสามีโจทก์ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแล้ว จึงไม่อำนาจบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี มาใช้บังคับได้ กรณีต้องเป็น ไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคแรก บัญญัติว่า "ให้บุคคล ทุกคน...ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่าง ปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่นๆ ภายในเดือนมีนาคมทุกๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถ้า บุคคลนั้น...
(3) มีสามีหรือภริยา และมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมา แล้วเกิน 60,000 บาท หรือ..." ซึ่งบัญญัติให้บุคคลทุกคนมีหน้าที่ใน การยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษี ที่ล่วงมาแล้ว เมื่อบุคคลนั้นมีสามีหรือภริยา และมีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าโจทก์เป็น ผู้มีเงินได้พึงประเมิน ประจำปีภาษี 2533 (1 มกราคม - 30 มิถุนายน) จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงิน 1,000,000 บาท และมีเงินได้พึงประเมินประจำปี 2533 (1 มกราคม-31 ธันวาคม) จากการขายอสังหาริมทรัพย์ รวมเป็นเงิน 3,400,000 บาท โจทก์ จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภาษี 2533 (ครึ่งปี) และประจำปีภาษี 2533 ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการและชำระภาษี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมี อำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ ดังนั้น การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขอองเจ้าพนักงานประเมินและ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว ที่ศาล ภาษีอากรกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของ จำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับการประเมินตาม หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลขที่ 1932/ 102855 และเลขที่ 1932/1/102856 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ นบ/0037/2540 และเลขที่ นบ/0038/2540 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษี อากรกลาง
(เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ -ปราโมทย์ บุนนาค -ณรงศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 12-02-2021