คำพิพากษาฎีกาที่2655/2542 | |
กรมสรรพากร | โจทก์ |
บริษัท ที.เอ็ม.โอ. จำกัด ที่ 1 | จำเลย |
นายเซนอิจิ มายด้า ที่ 2 | |
นางคิมิโก๊ มายด้า ที่ 3 | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 | |
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท จำเลยทั้งสามไม่ได้นำพาที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบ 10 ปี ก็ไม่ได้ทำให้สัญญาสิทธิอาศัย ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เสียไปจนไม่สามารถใช้บังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ สิทธิของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในห้องชุดพิพาทตามสิทธิอาศัยดังกล่าวมีอยู่ก่อนหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสมคบกัน กระทำการโดยไม่สุจริตโดยรู้อยู่ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ |