เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่1808/2542  
กรมสรรพากรโจทก์

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ยู.วี. 1995

จำเลย
เรื่อง บังคับชำระเงิน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิธีพิจารณาความแพ่ง การพิจารณาโดยขาดนัด (มาตรา 205) ป.รัษฎากรฯ (มาตรา
22, 67 ทวิ, 67 ตรี) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ
(มาตรา 17)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 19,448,821 บาท กับให้ จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงิน จำนวน 9,997,338 บาท นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2541 จนกว่าจะชำระ เสร็จแก่โจทก์
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 13,446,419.74 บาท แก่โจทก์ กับให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษ ของเดือนของเงินภาษีจำนวน 9,997,338 บาท นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินกว่าจำนวน ภาษีที่ค้างชำระ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในรอบระยะ เวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 จำเลย ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด. 50) โดยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2538 จำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ (ภ.ง.ด. 51) แสดงในแนบว่า จำเลยไม่มีรายได้และไม่มีเงินภาษีที่ต้องชำระตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 106 และ 107 เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ประเมินภาษีเงินได้จำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ก่อนหักรายจ่ายคิดเป็นค่าภาษี 9,997,338.10 บาทเงินเพิ่มคำนวณถึง วันที่ 29 เมษายน 2541 เป็นเงิน 3,449,081.64 บาท ตามหนังสือแจ้งภาษี เงินได้นิติบุคคลเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 11 คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ โจทก์ประการแรกว่า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจนำภาษีที่ประเมินในอัตรา ร้อยละ 5 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) มาใช้ในการคำนวณประมาณ การกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน ตามมาตรา 67 ทวิ ได้หรือไม่ และจำเลยต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทิว ได้หรือไม่ แต่จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี หรือไม่ เห็นว่าการที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ตามหมายเรียกเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 65 ให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบของ โจทก์ ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะ เวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อย ละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลย ไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณ จากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997.338.10 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 24 เมื่อนำภาษีจำนวน 9,997338.10 บาท มาคำนวณกลับเป็น กำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาท เมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระสำหรับ รอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 23 ถือได้ว่าเป็นการ คำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้ว และเมื่อปรากฏ ว่าจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด. 51) ระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 106 จึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบ ระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อย ละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี คิดเป็นเงินเพิ่ม 999,733.81 บาท ส่วนเบี้ย ปรับตามที่เจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบ ระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา 22 จำนวน 4,998,669.05 บาท เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียหายชำระ เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสีย เบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยืนแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง และมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติ ไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจ ประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 แห่งประมวลรัษฎากรจึงให้เพิก ถอนการประเมินในส่วนของเบี้ยปรับนี้เสีย
ปัญหาต่อไปตามอุทธรณ์โจทก์ว่า จำเลยได้ทราบการประเมินของเจ้า พนักงานประเมินโจทก์แล้ว และมิได้อุทธรณ์การประเมิน การประเมินดังกล่าว จึงเป็นเด็ดขาดจำเลยย่อมไม่มีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ซึ่งรวมทั้งยกขึ้นต่อ สู้คดีด้วย ทั้งการประเมินมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน เห็นว่า การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 12 แล้วไม่เคยโต้ แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าวทั้งเมื่อการ ประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและ ขาดนัดพิจารณา แต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ ก็ต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบ พยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และยกขึ้นอ้างโดยลำพัง ซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 12 เป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบ ด้วยกฎหมายศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงาน ประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้ อุทธรณ์โจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้แก้ไขการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ นิติบุคคลที่ 2008330/2/100107 โดยให้เพิกถอนการประเมินของเบี้ยปรับ จำนวน 4,998,668.05 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาล ภาษีอากรกลาง
(ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์ - สุทธิ นิชโรจน์ - เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 12-02-2021