เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่2552/2541 
ธนาคารทหารไทย จำกัด โจทก์

บริษัทโกลเด้นไฮเทค จำกัด กับพวก

จำเลย
เรื่อง บังคับชำระหนี้เงินกู้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แพ่ง ค้ำประกัน (มาตรา 680) วิธีพิจารณาความแพ่ง การรับฟังพยานหลักฐาน (มาตรา 86) ป.รัษฎากร (มาตรา 108) พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ (มาตรา 14)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้เงินกู้จำนวน 218,067.41 บาท และชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 1,213,361.38 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 202,573.80 บาท และจำนวน 1,142,156.53 บาท ตามลำดับ นับถัดจากวันฟ้องจน กว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระขอให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1060, 6518, 17068 ตำบลเมืองเก่า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 4 จำเลยไว้แก่โจทก์ออกขายทอดตลาดนำ เงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระ ขอให้ยึด ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่มาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ

จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้จำนวน 202,573.80 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2538 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่ วันที่ 1 กันยายน 2538 ถึงวันฟ้อง (วันที่ 26 ธันวาคม 2539) โดยให้ นำเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาชำระหักจากดอกเบี้ยค้างชำระดังกล่าวก่อน ณ วันที่ชำระเงินคือวันที่ 10 ตุลาคม 2539 จำนวน 20,000 บาท และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 จำนวน 15,000 บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แก่โจทก์ ส่วนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เป็นเงินจำนวน 1,142,156.53 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน ดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้อง (วันฟ้องวันที่ 27 ธันวาคม 2539) เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1060, 6518, 17068 ตำบลเมืองเก่า อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ โจทก์หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ที่ 4 ออกขาย ทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 10, จ. 11

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยไม่ได้รับ อนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำ สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.4, จ.5 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตาม เอกสารหมาย จ.6, จ.7 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามเอกสารหมาย จ. 10, จ. 11นอก จากนี้จำเลยที่ 4 ยังจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ตาม สัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.12, จ.13 มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตาม อุทธรณ์ของโจทก์ว่า โจทก์ใช้เอกสารหมาย จ. 10, จ. 11 เป็นพยาน หลักฐานในคดีแพ่งได้หรือไม่ เห็นว่า เอกสารดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกัน การกู้เงินตามเอกสารหมาย จ.4, จ.5 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสาร หมาย จ.6, จ.7 เป็นการค้ำประกันเงินกู้และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลย ที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียวซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดย มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระ หนี้วงเงินเชื่อในหนี้ประเภทเงินกู้และกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 10, จ. 11 เป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ มีความผูกพันที่ จะต้องชำระหนี้รายนี้โดยสิ้นเชิงหาใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กันไม่ จึงเห็นได้ชัดว่าเอกสารหมาย จ. 10, จ. 11 เป็นการทำตราสารใน เรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ ของประมวลรัษฎากรและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับ บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกัน เป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนด ลักษณะแห่งตราสารท้ายประมวลรัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่า สำหรับ การค้ำประกันนั้น ข้อ 17(ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารหมาย จ.10 จ.11 ปิด อากรแสตมป์ฉบับละ 10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้ เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ผู้ทำสัญญา ค้ำประกันดังกล่าวย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมอุทธรณ์ โจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้น

ปัญหาต่อไปมีว่า ศาลชั้นต้นมีอำนาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระหว่าง จำเลยผิดนัดจากอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ได้ หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กำหนดให้ คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เว้นแต่เจ้าหนี้อาจเรียก ดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นโดยชอบ โจทก์ประกอบธุรกิจ การธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตาม กฎหมาย ซึ่งกำหนดหนึ่งโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายหาใช่เป็น การกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระ ให้ถูกต้องสมควรอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ไม่ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จึงไม่ชอบ อุทธรณ์โจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

ส่วนปัญหาในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิก เงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญา (วันที่ 27 สิงหาคม 2539) ถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้นั้น เห็น ว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิด พลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้และชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย สำหรับ ดอกเบี้ยในหนี้เงินกู้นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปและดอกเบี้ยในหนี้เบิกเงิน เกินบัญชีนับแต่วันเลิกสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ นั้น ให้จำเลยทั้งสี่ชำระในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นอกจากที่แก้ให้เป็น ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 12-02-2021