คำพิพากษาฎีกาที่2513/2541 | |
นายธาตรี มโนรถกุล | โจทก์ |
กรมสรรพากร | จำเลย |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 48 (4), 49 ทวิ, 56 ทวิ, 57 ตรี, 87 ทวิ (6) ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ | |
โจทก์อ้างว่า โจทก์กับนายไพโรจน์ฯ ได้ร่วมหุ้นซื้อที่ดินเพื่อนำมาทำการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและทำการค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่นายไพโรจน์ฯ ไม่สามารถหาเงินมาลงทุนตามสัญญาได้ จึงได้ตกลงแบ่งที่ดินกันตามส่วนที่ได้ลงทุน ต่อมาโจทก์จึงได้ชวนนายไพศาลฯ ซึ่งมีอาชีพจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์มาร่วมลงทุนทำการก่อสร้างอาคารเป็นที่อยู่อาศัยและทำ การค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแทน โดยตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้ออกที่ดิน ส่วนนายไพศาลฯ เป็นผู้ออกเงินค่าก่อสร้างอาคาร โดยโจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็น 9 แปลง เพื่อให้นายไพศาลฯ ทำการก่อสร้าง ต่อมานายไพศาลฯ ไม่มีเงินชำระค่าก่อสร้าง โจทก์จึงต้องไปกู้ยืมเงินมาเพื่อชำระค่าก่อสร้าง และเมื่ออาคารสร้างเสร็จก็ได้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปขายที่อาคารดังกล่าว แต่การค้าไม่ดีและมีภาระหนี้สินมาก จึงตกลงขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ แต่พยานหลักฐานที่นำสืบกลับปรากฏว่าโจทก์นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองประกันเงินกู้ของนายเลิศพงษ์ฯ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินที่โจทก์เข้าหุ้นกับพวกคนใดคนหนึ่งแต่ประการใด นอกจากนี้ พฤติการณ์ของโจทก์ที่ได้ทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเป็นแปลงย่อย ๆ ถึง 9 แปลง แม้โจทก์จะอ้างว่าเพราะโจทก์มีบุตร 5 คน จึงมีเจตนายกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แต่ละคนเป็นสัดส่วนนั้น โจทก์ก็น่าจะทำการแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วน 5 ห้องที่จะตกเป็นของโจทก์ ไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์จะต้องแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะตกเป็นของนายไพศาลเป็นแปลงย่อยอีก 4 แปลงให้นายไพศาลฯ ด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับ ฟังได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้าโจทก์นำที่ดินไปจำนองประกันเงินกู้ หากโจทก์ต้องการเงินที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้เงินกู้จริง โ จทก์ก็ควรขายไปเท่าที่จำเป็น แต่ปรากฏว่าโจทก์ขายที่ดินทั้ง 9 แปลง และขายไปในราคาที่ต่ำกว่าโจทก์ซื้อมามากและไม่สมเหตุผล จึงไม่น่าเชื่อว่า โจทก์ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปในราคาที่ปรากฏตามสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลฎีกาเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมโยธาธิการ สามารถแสดงถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่ แท้จริงได้ ราคาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วการเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นการเรียกเก็บก่อนถึงกำหนดเวลานั้น มาตรา 56 ทวิ วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) หากมีเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน เมื่อยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานฯ ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ |