คำพิพากษาฎีกาที่10146/2539 | |
บริษัท 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด | โจทก์ |
กรมสรรพากร | จำเลย |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1), 54, 65 ทวิ (4) กฎกระทรวง (ฉบับที่ 159) พ.ศ. 2526 | |
ค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ ในกิจการของโจทก์มีลักษณะเป็นการเหมาจ่ายแก่พนักงานทุกคน ในอัตราเดียวกัน โดยมิได้คำนึงว่าจะได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นหรือไม่ เงินที่โจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงาน จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่ง ป.ร.ก. พนักงานต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โจทก์ต้องการซื้อที่ดินมีโฉนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้จึงตั้งบริษัท เอ็ม ฯ ขึ้นมา แล้วโจทก์กู้เงินจากผู้อื่นมาเพื่อให้บริษัท เอ็ม ฯ อันเป็นบริษัทในเครือเดียวกันยืมเงินจำนวนดังกล่าวโดยไม่เสียดอกเบี้ย และเมื่อโจทก์ต้องกู้เงินจากบุคคลอื่นแล้วให้บริษัท เอ็ม ฯ ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย จึงไม่มีเหตุสมควร การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินดอกเบี้ยรับจากเงินที่โจทก์นำไปวางประกันการเช่าที่ดินจากบริษัท เอ็ม ฯ จึงชอบแล้ว การจำหน่ายหนี้สูญต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2526) เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติ โจทก์ไม่มีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ แต่หากหนี้สูญรายใดโจทก์ได้ ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้สำหรับหนี้รายนั้นได้ |