เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 3472/2537 
กรมสรรพากรโจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดใต้เซ้งหลี กับพวกจำเลย
เรื่อง ฟ้องขอให้เป็นบุคคลล้มละลาย 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส, 50, 52 กฎกระทรวง ฯ (ฉบับที่ 144)
พ.ศ. 2522

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2534 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้ค่าภาษีอากร เป็นเงิน 960,748.73 บาทจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสอง

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้ว เห็นว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ค่าภาษีอากรจำนวน 464,787.13 บาท ซึ่งลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้อยู่จริง และ มูลหนี้เกิดก่อนวันพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนหนี้ที่เหลือจำนวน 495,916.60 บาท ซึ่งเป็นเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มนั้น ลูกหนี้ที่ 1 ได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวล รัษฎากรลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 ลูกหนี้ที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในเงินส่วน เบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าที่ค้างชำระ เห็นควร ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองเป็นเงิน 464,787.13 บาท ตามมาตรา 130(8) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนที่ขอเกินมาให้ยก

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำสั่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ ลูกหนี้ทั้งสองเป็นเงิน 464,787.13 บาท ส่วนที่ขอเกินมาให้ยก

เจ้าหนี้อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

เจ้าหนี้ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่เจ้าหนี้ฎีกาว่า ลูกหนี้ทั้งสองไม่ได้รับประโยชน์ตาม ประกาศของกระทรวงการคลังดังกล่าว ลูกหนี้ทั้งสองยังต้องรับผิดในส่วน เบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน 495,961.60 บาท ด้วยนั้น เห็นว่า คดีนี้มีเจ้า หนี้รายเดียวและเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลูกหนี้ทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลาย เนื่อง จากลูกหนี้ที่ 1 ค้างชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล รายเดียวกันกับที่นำมายื่นขอรับชำระหนี้นี้ เมื่อลูกหนี้ทั้งสองถูกศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือกระทำการใดๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินทั้งสองหามีอำนาจดังกล่าวโดยลำพังไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้ง สอง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดการโดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ กองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสอง เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2534 ก่อนที่จะมีประกาศ กระทรวงการคลังขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 ลูกหนี้ทั้งสองได้ยื่นคำขอประนอม หนี้ก่อนล้มละลายโดยระบุว่าจะชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ได้เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอ ประนอมหนี้ ซึ่งผลการประชุมเจ้าหนี้ก็ยอมรับคำขอประนอมหนี้ดังกล่าวของลูกหนี้ ทั้งสองต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้แล้ว ซึ่งเป็นไปตาม กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 และมาตรา 46 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และเป็นกระบวนการพิจารณาที่ได้กระทำภายหลัง จากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ซึ่งต่อมาลูกหนี้ทั้งสองก็ได้ชำระหนี้ตาม คำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะรับชำระ หนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงการคลังนั้นแล้ว ถือเป็น การชำระหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระหรือนำส่งให้เจ้าหนี้ตามประกาศกระทรวงการคลัง แล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการ คลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม แต่การชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ซึ่งเจ้า หนี้ยอมรับภายในกำหนดของประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ค้าง ชำระภาษีอากรได้ชำระภาษีอากรเสียภายในกำหนดตามประกาศโดยไม่ต้องเสีย เบี้ยปรับและเงินเพิ่มเพื่อที่จะได้จัดเก็บภาษีอากรเข้าสู่ระบบภาษีใหม่ได้ อันตรง ตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษี อากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากร เกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4(3) ยังไม่ถนัด เพราะคดีนี้เจ้าหนี้ได้นำหนี้ภาษี อากรค้างชำระ ซึ่งกำหนดจำนวนได้แน่นอนแล้วมาฟ้องให้ลูกทั้งสองล้มละลาย ซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ทั้งสองก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอน ฟ้องได้ ในขณะที่ลูกหนี้ทั้งสองถูกศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว การที่ลูกหนี้ทั้งสองวางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ภายในระยะ เวลาตามประกาศกระทรวงการคลัง ลูกหนี้ทั้งสองจึงได้รับประโยชน์ตามประกาศ ดังกล่าวด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลูกหนี้ทั้งสองไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

(เสมอ อินทรศักดิ์ - ปรีชา เฉลิมวณิชย์ - ประสิทธิ์ แสนศิริ) พิทยา มูลศาสตร์ - ย่อ

 

ปรับปรุงล่าสุด: 07-02-2021