โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2519 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบการตลอดจนตามคำสั่งของโจทก์ทุกประการ หากก่อความ เสียหายใด ๆ ขึ้นกับโจทก์ไม่ว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชดใช้โดยสิ้นเชิง และเพื่อเป็นประกันการชำระ ค่าเสียหายจำเลยที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 และยอมสละสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 - 690 ต่อมา จำเลยที่ 1 ถอนเงินโจทก์จากธนาคารรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 26 มิถุนายน 2528 เป็นเงิน 500,000 บาทครั้งที่สองเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 เป็นเงิน 200,000 บาท และเบียดบังเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัว โดยทุจริต แล้วหลบหนีไปเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย 700,000 บาท กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิด จนถึงวันฟ้องเป็นเงินอีก 92,500 บาท และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำ ประกันต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือ แทนกันชำระเงิน 792,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงิน 700,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า จะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยนำเงิน ของโจทก์ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่บรรยายให้ชัดว่า จำเลยที่ 1 กระทำการใดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้กระทำการละเมิดต่อโจทก์ และไม่เคยเบิกเงินของ โจทก์จากธนาคารด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันการ ชำระค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ หนังสือค้ำประกันตาม เอกสารท้ายฟ้องหมาย 4 ไม่ใช่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย อย่างไร ก็ดีตามสัญญาค้ำประกันระบุให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเฉพาะการกระทำของ จำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์หนังสือค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องหมาย 4 ไม่ใช่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอย่างไรก็ดีตามสัญญาค้ำประกัน ระบุให้ค้ำประกันรับผิดเฉพาะการกระทำของจำเลยที่ 1 ในระหว่างจำเลย ที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ และตามระเบียบของโจทก์ เจ้าหน้าที่ของโจทก์ จะต้องออกจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 มีอายุ ครบ 60 ปีบริบูรณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ฉะนั้นการเบิกเงิน จำนวน 200,000 บาท เมื่อวันที่ 2ธันวาคม 2529 ของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดและที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดโจทก์เกี่ยวกับ เงิน 500,000 บาท ก็ขาดอายุความแล้ว ขอให้ยกฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 792,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 700,000 บาท นับแต่ วันที่ 18 กันยายน 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หาก ไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้จำเลยที่ 2 ชำระจนครบจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "สำหรับฎีกาจำเลยที่ 2 ปัญหาต่อไปที่ว่าโจทก์มิได้บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำการใดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจ เข้าใจคำฟ้องโจทก์ได้ว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำละเมิดโจทก์ หรือผิดสัญญากันแน่นั้น เห็นว่าโจทก์บรรยายคำฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ถอนเงินของโจทก์จากธนาคารรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 26 มิถุนายน 2528 เป็นเงิน 500,000 บาท ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 เป็นเงิน 200,000 บาท และเบียดบังเอาเป็นประโยชน์ ส่วนตัวโดยทุจริต แล้วหลบหนีไปเป็นละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ไม่จำเป็น ที่โจทก์จะต้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อแล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม... สำหรับปัญหาต่อไปจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสาร เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เห็นว่า ตามทางพิจารณาโจทก์ นำสืบว่า ต้นฉบับสัญญาค้ำประกันสูญหายเพราะถูกจำเลยที่ 1 ลักไปได้ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้แล้ว อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็น ที่ไม่สามารถส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้ การที่ศาลชั้นต้น รับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนา เอกสารมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2) ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับเอกสารได้โดยชอบด้วย กฎหมาย สำหรับปัญหาสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งว่า ต้นฉบับสัญญาค้ำ ประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ไม่สามารถนำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาใช้ เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรนั้น เห็นว่า ในคดีนี้เป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทน ต้นฉบับเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (2)จึงหาใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐาน อันจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรตามที่จำเลยที่ 2 กล่าว อ้างแต่อย่างใดไม่ ทั้งสำเนาเอกสารดังกล่าวก็มิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือ คู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวล รัษฎากร" พิพากษายืน (ปราโมทย์ ชพานนท์ อุระ หวังอ้อมกลาง ปรีชา เฉลิมวณิชย์) |