คำพิพากษาฎีกาที่4099/2535 |
|
บริษัทกรุงเทพฯ อบพืช และไซโล จำกัด | โจทก์ |
กรมสรรพากรกับพวก | จำเลย |
กฎหมายที่เกี่ยวข้องป.รัษฎากร ส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่น อุทธรณ์การประเมิน (มาตรา8,30) , | |
โจทก์ประกอบธุรกิจสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม แต่โจทก์ไม่สามารถขุดเจาะน้ำมันได้ด้วยตนเอง จึงได้ทำสัญญากับบริษัท เชลล์อินเตอร์ เนชั่นแนล ปิโตรเลียม มาสตาเปส์ บี.วี. จำกัด (เอส. ไอ. พี. เอ็ม.) ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลในทางวิทยาการในด้านการขุดเจาะน้ำมันอันเป็นธุรกิจที่โจทก์ประกอบการอยู่ โดยโจทก์มีสิทธิที่จะใช้ความรู้ในทางวิทยาการของ เอส. ไอ. พี. เอ็ม. ในการประกอบธุรกิจเท่านั้น ห้ามนำเอาความรู้ในทางวิทยาการไปเปิดเผย โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ เอส.ไอ.พี.เอ็ม. ดังนั้น เงินที่โจทก์จ่ายให้ เอส. ไอ. พี. เอ็ม . ตามสัญญา จึงเป็นเงินค่าสิทธิตามที่กำหนดในอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ในเมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษี ตาม ป.ร.ก. มาตรา 70 (2) การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินเป็นการใช้สิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมาย จะถือว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีย่อมไม่ได้ ประกอบกับโจทก์ได้ลงหลักฐานการจ่ายไว้ในบัญชีถูกต้อง จึงมีเหตุที่จะลดเงินเพิ่ม ตามมาตรา 22 แห่ง ป.ร.ก. จำเลยทั้งสี่ให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ได้ทราบผลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2528 แต่ยื่นฟ้องวันที่ 7 มกราคม 2529 เกินระยะเวลา 30 วัน นับแต่ได้ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ไม่ขาดอายุความ ตามข้อเท็จจริงลูกค้าของโจทก์ผู้นำข้าวโพดผ่านเข้าบริษัทโจทก์เป็นผู้รับผิดชอบในข้าวโพดส่วนที่ขาดหายไป โจทก์ไม่มีส่วนต้องรับผิดชอบจึงไม่มีรายจ่ายในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามการที่น้ำหนักข้าวโพดส่วนที่โจทก์อ้างว่าขาดหายไปมาตัดยอดรายจ่ายของโจทก์แต่ละปีแต่เป็นการกล่าวอ้างขึ้นอย่างเลื่อนลอยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการส่งข้าวโพด โจทก์อ้างว่าได้ใช้จ่ายไปจริงโดยจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมศุลกากร ค่าเฝ้านอกสถานที่ ค่าล่วงเวลาค่าบริการต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นั้น เจ้าพนักงานประเมินวินิจฉัยว่า เป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นผู้รับเงินดังกล่าวไป และถึงแม้รายจ่ายดังกล่าวมีจริงก็ต้องห้ามมิให้นำมาคิดหักเป็นรายจ่ายของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายส่วนตัว เป็นการให้โดยเสน่หา และยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ไม่ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวไปแต่ประการใด โจทก์อ้างรายจ่ายส่วนนี้ขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ จึงมีอำนาจฟ้อง การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน 30 วัน นับแต่วันวินิจฉัยอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ฝืนกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 (2) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือไม่ศาลฎีกาเห็นว่า การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีนี้กระทำโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนอันกระทำได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรกที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ดังนั้นการที่จะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าววันใดจึงต้องนำไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกโดยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณีย์นิเทศดังกล่าว ข้อ 350 ได้กำหนดไว้ว่า "ไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 351 กำหนดว่า "ในการนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนผู้รับ คือบุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือน หรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่ง หรือเวรรักษาการณ์ของสำนักงาน โรงเรียนหรือหน่วยทหาร" และข้อ 353 กำหนดว่า "ไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาทีนำจ่าย" ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า นายนิเรนทร์ผู้ที่รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไว้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2528 นั้น เป็นยามที่บริษัทเจเอ็นเตอร์ไพร์ซ อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด จัดมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินภายในบริเวณโรงงานและสำนักงานของโจทก์ตามสัญญาที่โจทก์เป็นผู้จ้าง การที่นายนิเรนทร์ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ที่ตู้ยามบริเวณหน้าทางเข้าโรงงานและสำนักงานของโจทก์ จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง หาใช่เป็นยามหรือเวรรักษาการณ์ของบริษัทเจเอ็นเตอร์ไพร์ซอินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด ไม่ จึงถือได้ว่านายนิเรนทร์เป็นผู้แทนโจทก์ และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2528 แล้ว ตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2528 ข้อ 351 และข้อ 353 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่ 54 ธันวาคม 2528เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันอังคารที่ 7 มกราคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีมาชอบแล้วฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน (มงคล สระฎัน - เจริญ นิลเอสงฆ์ - เพ็ง เพ็งนิติ) |