เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่5652/2534

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด

โจทก์

ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานพลาสติกฮงจั้ว กับพวก

จำเลย

เรื่อง คดีล้มละลาย

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องแพ่ง รับสภาพหนี้ (มาตรา 172) พ.ร.บ. ล้มละลายฯ การแบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้
(มาตรา130 (8)) ป. รัษฎากร เงินเพิ่ม (มาตรา 27)

คดีนี้สืบเนื่องมาจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ทั้งสองขอให้ล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งสองไว้เด็ดขาดกรมสรรพากร เจ้าหนี้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า จำนวน 562,510.25 บาท จากกอง ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 104 แล้ว ไม่มีผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ ของเจ้าหนี้รายนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้ว เห็นว่า ลูกหนี้ที่ 2 ค้างชำระ ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมเงินเพิ่มสำหรับปี 2512,2513 และ 2515 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 808.97 บาท แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้สิทธิ เรียกร้องในมูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2512 ถึงปี 2515 จึงขาดอายุความ 10 ปี ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2516 จำนวน 188,120.24 บาท ลูกหนี้ที่ 2 ได้ผ่อนชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เป็นเงิน สิ้น 225,744.29 บาท ลูกหนี้ที่ 2 ได้ผ่อนชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 185,570 บาท ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการ ใช้เงินบางส่วน อายุความจึงสะดุดหยุดลงนับถึงวันที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียก ร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คดียังไม่ขาดอายุความ เมื่อหักเงินที่ได้ ชำระไปแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 คงต้องรับผิดเป็นเงิน 40,174.29 บาท กับเงิน เพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เป็นเงิน 8,034.86 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 48,209.15 บาท ส่วนภาษีการค้า ในปี 2512 ถึง 2516 ลูกหนี้ที่ 2 ค้างชำระภาษีทั้งสิ้น 465,584.78 บาท แต่เจ้าหนี้ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อลูกหนี้ที่ 2 แต่อย่างใด คดีจึงขาดอายุความ 10 ปี ต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตาม มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 เห็นควรให้เจ้าหนี้ได้รับชำระ หนี้เฉพาะหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2516 เป็นเงิน 48,209.15 บาท จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130 (8) ส่วนหนี้ภาษีอื่นและจำนวนเงิน ที่เกินมาเห็นควรให้ยกเสียทั้งสิ้น
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2516 เป็นเงิน 48,209.15 คำขอนอกจาก นี้ให้ยกตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
เจ้าหนี้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ที่เจ้าหนี้ฎีกาว่า การที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำยอดเงินค่าภาษีอากรค้างที่ ลูกหนี้ที่ 2 นำมาชำระเป็นเงิน 185,570 บาท ซึ่งเป็นภาษีตามใบแจ้งการ ประเมินเป็นเงิน 156,482.25 บาท รวมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เป็นเงิน 39,168.75 บาท (ที่ถูกน้าจะเป็น 29,087.75 บาท) มาหักจากเงินภาษี ตามใบแจ้งการประเมินที่ค้าชำระ 225,744.29 บาท โดยไม่ได้คำนวณ เงินเพิ่มตามมาตรา 27 เป็นการขัดต่อหลักการเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อ กฎหมายดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เป็นการขัดต่อหลักการเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวนั้น ศาล ฎีกาเห็นว่า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 27 หาได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าภาษีอากรค้างว่าจะต้องชำระเงินเพิ่มก่อนหลังกัน อย่างไรจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้จะต้อนำสืบ มิใช่ข้อที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจะสามารถรู้ได้เอง คดีนี้เมื่อเจ้าหนี้มิได้นำสืบให้ ปรากฏชัดว่า เงินที่ลูกหนี้ที่ 2 นำมาชำระให้นั้นเป็นการชำระหนี้ค่าภาษี ตามใบแจ้งการประเมินจำนวน 156,482.25 บาท และชำระหนี้เงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรอีกเป็นเงิน 30,087.75 บาท (ที่ถูกน้าจะเป็น 29,087.75 บาท) จึงรับฟังตามที่เจ้าหนี้ฎีกาไม่ได้ แต่เมื่อเจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ ไปยังลูกหนี้ที่ 2 ตาม เอกสารหมาย จ.4 ลูกหนี้ที่ 2 ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วตามเอกสารหมาย จ.12 และไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้ชำระค่าภาษีเงินได้ภายใน 30วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เป็นเงินเพิ่ม 45,148.85 บาท รวมเป็นเงินที่ลูกหนี้ที่ 2 จะต้องชำระทั้งสิ้น 270,893.14 บาท ได้ความ ว่าลูกหนี้ที่ 2 ผ่อนชำระแล้วแล้วจำนวน 185,570 บาท จึงคงค้างชำระ อยู่อีก 85,323.14 บาท แต่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ส่วนนี้เป็นเงิน 83,114.44 บาท จึงให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนที่ขอ ที่เจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลล่างทั้งสองนำเงินที่ลูกหนี้ที่ 2 ผ่อนชำระไป หักจากค่าภาษีเงินได้ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยไม่คำนวณเงิน เพิ่มร้อยละ 20 ด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง...
ส่วนที่เจ้าหนี้ฎีกาว่า หนี้ภาษีการค้าของปี 2512 ถึงปี 2516 ยัง ไม่ขาดอายุความนั้น เห็นว่า ตามคำให้การของนายกลยุทธ ยอดอุดม พยานของเจ้าหนี้ว่า ได้มีการชำระเงินกันบางส่วนแล้วเป็นเงิน 95,615.81 บาท แต่จะชำระเมื่อใดไม่ปรากฏแม้ข้าเท็จจริงจะได้ความว่า ลูกหนี้ที่ 2 ได้รับทราบการประเมินและไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ รายนี้ก็ไม่อาจถือหรือรับฟังได้ว่ามีการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิ เรียกร้องด้วยการใช้เงินบางส่วนอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย ว่าหนี้ภาษีการค้าขาดอายุความ 10 ปี ชอบแล้ว..."
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาปี 2516 เป็นเงิน 83,114.44 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
(จรัส อุดมวรชาติ - สวิน อักขรายุธ - สมชัย ศิริบุตร)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 31-01-2021