โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอ รับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ร.บ.17661 ของกลางในคดีอาญาฐาน ยักยอกทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดในกิจการที่จำเลยที่ 2 กระทำ ทั้งนี้เพื่อนำไปเก็บดูแลรักษาไว้จนกว่าคดีอาญาดังกล่าวจะถึงที่สุด โจทก์ มอบรถยนต์ของกลางให้จำเลยทั้งสองไปโดยมีสัญญาว่าจำเลยทั้งสอง ส่งมอบรถยนต์คืนให้โจทก์ในสภาพเดิมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ แจ้งให้ส่งมอบรถยนต์คืน หากไม่อาจส่งมอบได้ จำเลยทั้งสองยอมร่วม กันใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารถยนต์ของกลางแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 300,000 บาท ต่อมาคดีอาญาดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนรถยนต์ของกลางคืนแก่โจทก์ภายใน 15 วัน จำเลย ทั้งสองได้รับหนังสือแล้ว ไม่ส่งมอบรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ร.บ. 17661 คืนแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติก็ให้ร่วมกันใช้ค่า รถยนต์ของกลางเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การเป็นใจความทำนองเดียวกัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะรถยนต์ของกลางไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ จำเลยที่ 1 เพียงมอบให้ จำเลยที่ 2 รับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ร.บ. 17661 เท่านั้น มิได้ มอบอำนาจให้ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายสำหรับรถยนต์ของกลาง เป็นเงิน 300,000 บาท การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่ผูกพันจำเลย ที่ 1 ให้ต้องร่วมรับผิดด้วย จำเลยที่ 2 กระทำไปในฐานะที่ได้รับมอบ อำนาจจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด คำร้องเอกสารท้าย ฟ้องหมายเลข 3 มีลักษณะเป็นคำร้องฝ่ายเดียวไม่เป็นสัญญา โจทก์ จะนำมาฟ้องจำเลยไม่ได้ การที่โจทก์มีหน้าต้องส่งมอบรถยนต์ของ กลางแก่เจ้าของที่แท้จริง แต่เมื่อเจ้าของที่แท้จริงคือ จำเลยที่ 1 โจทก์ ไม่จำเป็นต้องเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบให้แก่โจทก์อีก รถยนต์ของ กลาง ราคาไม่ถึง 100,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์หมาย เลขทะเบียน ร.บ. 17661 ในสภาพเดียวกับวันที่รับไปจากโจทก์ให้ แก่โจทก์ หากไม่สามารถส่งมอบได้ ให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในชั้นสอบสวนคดีอาญา หมายเลขแดงที่ 382/2526 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 มอบ อำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางคืนจากสารวัตรใหญ่ สถานีตำรวจอำเภอเมืองร้อยเอ็ดเพื่อนำไปดูแลรักษา ตามเอกสาร หมาย จ.2 จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนสถานี ตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดเพื่อขอรับรถยนต์ของกลางไปดูแล รักษาจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามเอกสารหมาย จ.4 พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดได้มอบรถยนต์ของกลางให้ จำเลยที่ 2 รับไปดูแลรักษาแล้วตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยว กับคดีเอกสารหมาย จ.5 ต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว สารวัตรใหญ่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองนำรถยนต์ ของกลางส่งมอบต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ร้อยเอ็ด แต่จำเลยทั้งสองไม่นำรถยนต์ของกลางมอบให้แก่พนักงาน สอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดคดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ดังต่อไปนี้ ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 ในฐานผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลาง และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่าจะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงาน สอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแก่พนักงาน สอบสวนแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลย ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริง เพราะพนักงาน สอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็น การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับ รถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่สถานตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ด แต่จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากพนักงานสอบสวนสถานี ตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบอำนาจให้ กระทำ ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 เห็นว่า สารวัตรใหญ่เป็นพนักงาน สอบสวนคนหนึ่งและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน การมอบอำนาจ ให้กระทกต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้ เช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนจึง เป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและผูกพัน จำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาข้อต่อไปว่า เอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกัน แต่มิได้ปิดอากรแสตมป์ให้สมบูรณ์ รับฟังเป็นพยานไม่ได้นั้น เห็นว่าเอกสารหมาย จ.4 เป็นคำร้องขอรับ รถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา ส่วนเอกสารหมาย จ.5 เป็นรายงาน ประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืนหาใช่สัญญา ค้ำประกันอันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่จึงต้องไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปกระทำการครั้งเดียว คือมอบอำนาจให้ขอรับรถยนต์คืนเท่านั้น จึงได้ปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาง แต่จำเลยที่ 2 ไปทำการหลายครั้ง เท่ากับเป็นการมอบอำนาจทั่วไปต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ใบ มอบอำนาจดังกล่าวจึงปิดอากรแสตมป์ไม่สมบูรณ์ รับฟังเป็นพยาน ไม่ได้นั้น เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับ รถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็น รับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านั้นย่อมเป็นการกระทำที่ เกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้น หาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่การกระทำที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปเพื่อรับรถยนต์จึงเป็น การกระทำการครั้งเดียวฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน" พิพากษายืน (วิทวัส อยู่วัฒนา - บุญส่ง วรรณกลาง - ตัน เวทไว) |