เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่1586/2534

 

ห้างหุ้นส่วนจำกัดแต้ฮกเชียง

โจทก์

กรมศุลกากร

จำเลย

เรื่อง อุทธรณ์การประเมิน อำนาจฟ้อง เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องพ.ร.บ.ศุลกากรฯ ราคาแท้จริงในท้องตลาด (มาตรา 2) ป.รัษฎากร
อุทธรณ์การประเมิน อำนาจฟ้อง เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม (มาตรา 18 วรรคหนึ่ง,
30,89ทวิ วรรคสี่)

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อกระดาษอาร์ตเคลือบเครื่องหมายการค้า "เบนสัน" ซึ่งมีถิ่นกำเหนิดในประเทศนอร์เวย์เข้ามาในราชอาณาจักรไทย จากบริษัทสแคปเปกซ์ จำกัด ประเทศสวีเดน โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้า ขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย เพื่อชำระค่าภาษีอากร พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบแล้ว พอใจราคาตามที่โจทก์สำแดง และจำนวนค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล รวม 1,178,542.82 บาท ที่ขอชำระ โจทก์ได้ชำระ ค่าภาษีอากรแล้วไปขอรับการตรวจปล่อยแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่าย ตรวจสอบปล่อยของจำเลยอ้างว่าโจทก์สำแดงประเทศกำเนิดของสินค้า และเครื่องหมายการค้าเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา 27,99 แห่งพระ ราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 จึงไม่ยอมปล่อยสินค้าแก่โจทก์ โจทก์ จำเป็นต้องนำของออกเพื่อส่งให้ลูกค้าจึงนำหนังสือค้ำประกันของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มาวางประกันไว้จำนวน 801,800 บาท ตามที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าเพิ่ม ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2528 จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ไปตกลงระงับคดี โดยจะให้โจทก์ เสียค่าปรับ 425,009.78 บาท และชำระค่าอากรขาเข้าที่ขาด 212,504.89 บาท ค่าภาษีการค้า 50,178.20 บาท กับให้ชำระ เบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีการค้าที่ขาด โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงได้อุทธรณ์ โต้แย้งต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2528 จำเลยแจ้งผลการพิจารณา อุทธรณ์ให้โจทก์ทราบโดยยืนตามคำสั่งเดิม โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงไม่ยอม ปฏิบัติ จำเลยส่งเรื่องไปที่กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร เพื่อ ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ฐานหลีกเลี่ยงอากร ผลการสอบสวนพนักงาน อัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง สินค้าตามฟ้องกำเนิดในประเทศนอร์เวย์ โจทก์สำแดงราคาในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการไว้ ถูกต้องตามราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของ จำเลยอ้างว่าสินค้าตามฟ้องของโจทก์กำเนินในประเทศสวีเดน และ ประเมินราคาสูงขึ้นเป็นการไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าการกล่าว หาและประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระเงินตามเอกสารท้ายฟ้องหมาย เลข 6 และคำสั่งยกอุทธรณ์ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7 ไม่ชอบ กับให้จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ฉบับ ลงวันที่ 4 มกราคม 2528 แก่โจทก์
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2528 แก่โจทก์ กระดาษอาร์ตเคลือบ 114 ม้วน น้ำหนัก 103,160 กิโลกรัม เข้ามา ในราชอาณาจักรโดยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายการว่า เป็นสินค้าผลิตในประเทศนอร์เวย์ เครื่องหมายการค้า "เบนสัน" ราคาของ 1,708,033.38 บาท อากรขาเข้า 939,418.37 บาท ภาษีการค้า 217,385.86 บาท ภาษีบำรุงเทศบาล 21,738.59 บาท รวม 1,178,542.82 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจ ราคาจึงรับชำระค่าภาษีอากรไว้ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่กองตรวจสินค้า ขาเข้าตรวจพบว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสวีเดน และมีเครื่องหมายการค้า มงกุฎครอบตัว "H" ซึ่งมีราคาอันแท้จริงใน ท้องตลาด 750 เหรียญสหรัฐต่อตัน การสำแดงเท็จของโจทก์ดังกล่าว ทำให้ราคาสินค้าขาดไป 386,372.52 บาท ค่าอากรขาดไป 212,504.89 บาท ค่าภาษีการค้าขาดไป 50,178.0 บาท ค่าภาษี บำรุงเทศบาลขาดไป 5,017.82 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย จึงสั่งให้โจทก์วางประกันก่อนตรวจปล่อย โจทก์ได้นำหนังสือของธนาคาร กรุงเทพ จำกัด มาวางค้ำประกันจำนวนเงิน 801,800 บาท และรับของ ไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2528 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย ได้แจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงระงับคดี โดยเสียค่าปรับและชำระ เบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีการค้า โจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้ง คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ จำเลยได้มีหนังสือลงวันที่ 3 มิถุนายน 2528 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้า 50,178.20 บาท พร้อมค่าปรับ 1 เท่า โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2528 แต่นำคดี มาฟ้องเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2531 จึงเกิน 30 วัน คดีเกี่ยวกับภาษี การค้าและเบี้ยปรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ไม่มีอำนาจ ฟ้องเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มิได้ นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระให้แก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้ง ผลการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสียเพิ่ม ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี เป็นเงิน 42,500.98 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอากรขาเข้า ตามมาตรา 112 จัตวา อัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรที่ต้องชำระ นับแต่วันตรวจปล่อยของคือวันที่ 10 มกราคม 2528 จนถึงวันฟ้องรวม 47 เดือน เดือนละ 2,125.05 บาท คิดเป็นเงิน 99,877.35 บาท โจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เดือนละ 752.67 บาท นับแต่เมื่อพ้น 15 วันถัดจากเดือนภาษีคือ วันที่ 16 มกราคม 2528 ถึงวันฟ้องรวม 47 เดือน เป็นเงิน 35,375.49 บาท และต้องชำระเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาล ร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้า เป็นเงิน 3,537.55 บาท รวม ค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มที่โจทก์จะต้องชำระเป็นเงิน 448,992.28 บาท ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรและเงิน เพิ่มรวม 448,992.28 บาทแก่จำเลยกับให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มอากร ขาเข้าร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรที่ค้างชำระ เป็นเงินเดือนละ 2,125.05 บาท เงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของค่าภาษี การค้าที่ค้างชำระ เป็นเงินเดือนละ 752.67 บาท นับแต่วันฟ้องแย้ง จนกว่าจะชำระเงินเสร็จ และเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้า
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ราคาสินค้าต้นละ 750 เหรียญสหรัฐ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดเป็นเกณฑ์ประเมินนั้น พนักงาน เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดขึ้นเองมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด โจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและสำแดงราคาเพื่อเสียภาษีตามราคาที่ โจทก์ซื้อมาโดยแท้จริง เอกสารท้ายคำให้การของจำเลยหมายเลข 1 และเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์หมายเลข 6 เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำขึ้น เพื่อเรียกค่าปรับ มิใช่เป็นการประเมินภาษีและออกแบบแจ้งการประเมิน ภาษี โจทก์มิได้แสดงเครื่องหมายการค้าและประเทศกำเนิดสินค้าเป็น เท็จอันเป็นเหตุให้ราคาสินค้าขาดไป ขอให้พิพากษายกฟ้องแย้งของ จำเลย
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินของจำเลย เฉพาะที่เกี่ยวกับอากรขาเข้า โดยให้เป็นไปตามที่โจทก์สำแดงในใบ ขนสินค้าขาเข้าเอกสารหมายล.1 แผ่นที่ 2 ประกอบกับบัญชีราคาสินค้า เอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 4 ส่วนที่โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนการประเมิน เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ให้ยกฟ้องที่โจทก์ขอให้ จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรุงเทพ จำกัด นั้นเนื่องจาก โจทก์จะต้องชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลให้แก่จำเลยโดย มีหนังสือค้ำประกันดังกล่าวประกันไว้ จึงไม่คืนให้ ให้โจทก์ชำระภาษี การค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ขาดให้แก่จำเลย พร้อมทั้งเงินเพิ่ม ภาษีการค้าจากจำนวนภาษีการค้าที่ขาดอยู่ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ เดือนนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจำชะเสร็จพร้อมทั้งชำระภาษีบำรุงเทศบาล และเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีการค้าที่จะต้องชำระแก่จำเลยดังกล่าว มาแล้ว
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า "ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับค่าภาษีการค้า และค่าภาษีบำรุงเทศบาลหรือไม่ เห็นว่า นายอภิรัฐ ดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าฝ่ายคดี 1 ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการกองคดีซึ่งเป็น ข้าราชการตั้งแต่ชั้นโทขึ้นไป สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง กรมศุลกากร จึงเป็นเจ้าหนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการ แต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 2) เรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งพนักงาน ประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 เมื่อนายอภิรัฐได้มีหนังสือตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 หรือเอกสาร หมาย จ.1 แผ่นที่ 33 แจ้งจำนวนค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระเพิ่มไป ยังโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรให้นำเงินมาชำระจึงเป็นการที่เจ้าหนักงาน ประเมินได้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ผู้ต้องเสียภาษีอากรจะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ตามที่ประมวล รัษฎากรมาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ โดยจะต้องอุทธรณ์ไปยังคณะ กรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรภายใน 30 วัน นับแต่ วันได้รับแจ้งการประเมินต่อเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มี คำวินิจฉัยแล้วผู้ต้องเสียภาษีอากรจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี การค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ประมวลรัษฎากรภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน โจทก์ จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปนั้น ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้...
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลย มีว่าการที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรของที่นำเข้า เพิ่มเป็นการชอบหรือไม่ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าของที่โจทก์นำเข้ากำเนิด ในประเทศใดและมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด... พยานโจทก์จึง มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า สินค้าดังกล่าวกำเนิดในประเทศนอร์เวย์ และมีราคา ซื้อขายกันโดยแท้จริงตามราคาในใบอินวอยซ์.. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้ากำเนิดในประเทศนอร์เวย์มิได้กำเนิดในประเทศ สวีเดน ดังนั้นราคาสินค้าและค่าภาษีอากรที่โจทก์สำแดงและชำระไว้ จึงถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประ เมินราคาค่าสินค้าและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโดยเทียบราคา จากสินค้าที่กำเนิดในประเทศสวีเดนจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบเพราะ มิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.. แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษา ให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของจำนวนภาษี การค้าที่ขาดอยู่นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่จำกัด จำนวนไว้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตาม มาตรา 89 นั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคสี่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีการค้าที่ขาดนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะ ชำระเสร็จแต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 89 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
(สุนพ กีรติยุติ - ก้าน อันนานนท์ - เพ็ง เพ็งนิติ)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 31-01-2021