คำพิพากษาฎีกาที่ 1553/09 | |
บริษัท สหธัญญะเจริญ จำกัด | โจทก์ |
กรมสรรพากร | จำเลย |
เรื่อง อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี อากร | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้องตัวแทน,คำพิพากษาและคำสั่ง,ฟ้องซ้ำ,ชี้สองสถาน ,ประมวลรัษฎากร | |
อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้อง เสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตาม ที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ หาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ คดีก่อน โจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและคำ วินิจฉัยอุทธรณ์ของอธิบดีกรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีจากโจทก์อย่างโจทก์ทำ การค้าเองโดยตรงไม่ถูกต้องเพราะการค้าของโจทก์ในปี 2499-2500 เป็น อย่างตัวแทนของบริษัท ฮ. ขอให้แสดงว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นคำสั่งที่ มิชอบโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเป็นผู้ขาย ในคดีหลัง โจทก์บรรยาย ฟ้องเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์ทำการค้าอย่างเป็นตัวแทน และขอให้แสดง ว่าการค้าของโจทก์รายเดียวกันนี้ เป็นเพียงนายหน้าตัวแทนฟ้องของโจทก์ ทั้ง 2 คดีจึงมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า การฟ้องของโจทก์สำหรับปี 2499-2500 เป็นการค้ามิใช่โดยตรง หากเป็นเพียงตัวแทน การที่ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนถูก ยกฟ้องไป ก็เพราะโจทก์หมดสิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฟ้องของโจทก์ ในคดีนี้ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์หมด สิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งในคดีหลังจำเลยก็ ให้การเช่นเดียวกับคดีก่อนว่า โจทก์ฟ้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์คดีหลัง จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 148 การยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร มิใช่เป็นกระบวนการชั้นบังคับคดีตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 (1) แต่เป็นการยึดทรัพย์ตามอำนาจที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ เมื่อ ข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องประกอบคำให้การจำเลยและสำนวนคดีก่อนเป็นอัน วินิจฉัยได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานตามที่โจทก์แถลงไว้ ต่อศาลในวันนัดชี้สองสถานต่อไปอีก อำนาจในการที่จะสั่งยึด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี อากร ตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจ และหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่ กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ หาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ | |