เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 4143/2532 
กรมสรรพากรโจทก
บริษัท ภัทรกิจ จำกัด กับพวกจำเลย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1069
จำเลยเป็นนิติบุคคล ค้างชำระภาษีเงินได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยและผู้ถือหุ้นให้ร่วมกันชำระเงิน โดยผู้ถือหุ้นร่วมรับผิดเพียงไม่เกินเงินที่แต่ละคนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่แต่ละคน เป็นผู้ถือหุ้น มีข้อโต้แย้งเรื่องอายุความ เห็นว่าเมื่อแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งไม่นำเงินไปชำระ กฎหมายถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องฟ้องศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 การประเมินจึงมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับ การฟ้องคดี ดังนั้น การแจ้งประเมินย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นร่วมกับบริษัทรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1069 บัญญัติถึงผู้ถือหุ้นว่ารับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้น เท่านั้น เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติที่ให้คำนิยามว่าบริษัทจำกัดคืออะไร ไม่ใช่บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท ผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทฯ ค้างชำระต่อสิทธิกรมสรรพากร การที่ผู้ถือหุ้นไม่ชำระภาษีที่บริษัทฯ ค้างชำระต่อโจทก์ก็ไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะนำคดี มาฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระ แทนบริษัทฯ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

 

ปรับปรุงล่าสุด: 31-01-2021