เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 3773/2532 
นายสัก กอแสงเรืองโจทก
กรมสรรพากรกับพวกจำเลย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 40 (1), 40 (8), 42 (9), 50, 52, 98 และบัญชี
อัตราภาษีการค้า ประเภทการค้าที่ 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ซื้อที่ดินหลายแปลงแล้วขอรวมเป็นโฉนดเดียวกัน แล้วก่อสร้างตึกแถว หลังก่อสร้างเสร็จได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยตามจำนวนตึกแถว โจทก์ขายที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างไปบางส่วนหลังก่อสร้างเสร็จไม่ถึงปี แสดงเจตนาได้ว่ามิได้ประสงค์จะซื้อ ที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นสำนักงานของโจทก์เพียงอย่างเดียว แต่มุ่งที่จะทำการค้าหรือ หากำไรจากที่ดินและตึกแถวส่วนที่เกินจำเป็นต้องใช้ด้วย โดยแบ่งแยกโฉนดให้รับกับตึกแถวเตรียมไว้เพื่อสะดวกในการดำเนินการค้า ถือว่าเป็นการขานทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้าง ส่วนค่าแรงงานเหมาจ่าย ให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานเอง หากงานล่าช้าต้องจ้าง คนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่โจทก์จ่ายให้ผู้รับเหมามิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ ตามมาตรา 40 (8) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง
มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกย้อนหลังได้ 5 ปี โดยไม่จำต้องอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน โจทก์ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกตรวจสอบ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 และโจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันยื่น รายการเสียภาษีถูกต้องตามมาตรา 19
หมายเรียกตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วัน โจทก์มีสิทธิ์เพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก และเจ้าพนักงานประเมิน จะทำการประเมินภาษีโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้เท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ ให้ผู้รับมอบอำนาจขอเลื่อนการส่งเอกสารและหลักฐานไปเกิน 7 วัน และยอมปฏิบัติตาม หมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงาน จึงชอบด้วยกฎหมาย

 

ปรับปรุงล่าสุด: 31-01-2021