เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 1402/2531 
เรื่อง คำท้า ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย
ที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน
(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
การที่โจทก์หลายคนแต่งตั้งโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือ หลายคนเป็นผู้แทนดำเนินคดีแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 35 และข้อกำหนดศาล แรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ข้อ 1 เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดวิธีการแต่งตั้งไว้โดยเฉพาะ แตกต่าง จากการที่คู่ความในคดีแพ่งธรรมดามอบอำนาจหรือตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนใน การดำเนินคดีอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร เอกสารแสดงการแต่งตั้ง ดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินสะสม เงินสมทบและค่าจ้างที่ค้างชำระ เมื่อคำฟ้อง ของโจทก์บรรยายถึงสิทธิของโจทก์และหน้าที่ของจำเลย รวมทั้งข้อโต้แย้งที่ จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน และคำขอบังคับในจำนวน เงินที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับ แม้จะไม่ระบุว่าจำเลยหักเงินสะสมไว้อย่างไร เพียงใดและรายละเอียดของเงินสมทบมีมาอย่างไร คำฟ้องของโจทก์ก็แสดง โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหาแล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังว่า โจทก์ทุกคนได้ลาออกจากบริษัทจำเลยซึ่งหมาย ความว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลย อุทธรณ์ว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด เพื่อนำไปสู่การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ ให้โจทก์หรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามโจทก์และจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยตามคำฟ้องและ คำให้การว่า การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ ร้าน จ.กับร้าน ร.รวมกัน โดยร้าน จ.โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ในอัตราร้อยละ 90 ส่วนร้าน ร. โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง เป็นการขัดต่อมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์ชนะคดี ดังนี้จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมิน และพิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายสำหรับร้าน ร. มากกว่าค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาคือ อัตราร้อยละ 90 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอหักค่าใช้จ่ายอัตราร้อยละ 96 ตามที่ขอ หักไว้ และไม่มีสิทธิจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารวมกัน โดยขอหักค่าใช้จ่ายเป็น 2 ทาง แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายทางเดียวโดยการเหมา อัตราร้อยละ 90 ตามมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาข้างต้นไม่ได้เป็น ฎีกานอกเหนือจากคำท้า

 

ปรับปรุงล่าสุด: 31-01-2021