เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากรไปยังบุคคลใด หากเป็นกรณีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์การประเมิน บุคคลนั้นย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อผู้มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขความเห็นของเจ้าพนักงานประเมินได้ตามที่เห็นสมควร การที่จำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่มีคำวินิจฉัย ทั้งนี้ หนี้ค่าภาษีอากรโจทก์แจ้งการประเมินไปยังจำเลยก็อาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ชอบที่จะต้องรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และหากจะตีความว่าการอุทธรณ์การประเมินเป็นเรื่องบังคับผู้รับการประเมินฝ่ายเดียว ประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่าโจทก์จะฟ้องคดีระหว่างรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องคดีได้นั้น บทบัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องคดีได้นั้น บทบัญญัติเรื่องการอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรก็จะไร้ประโยชน์ และปัญหาเรื่องภาษีอากรค้างกับปัญหาเรื่องการนำคดีมาฟ้องเป็นคนละปัญหากันนำมาเทียบเคียงกันไม่ได้ |