คำพิพากษาฎีกาที่ 753/2526 | |
นายพัฒนา กริชชาญชัยฯ | โจทก์ |
นายวิชิต สุกใส | จำเลย |
กรมสรรพากรฯ | เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แพ่ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ม. 1077) พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 (ม. 94, 130 (6) (8) ม. 52, 68, 85 ทวิ, 86, 89 ทวิ | |
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในหนี้ของห้างฯ เมื่อจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กรมสรรพากรเจ้าหนี้ภาษีอากรของห้างฯ จึงเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้มูลหนี้ค่าภาษีอากรของห้างฯ เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ไม่ใช่เพิ่งเกิดเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเรื่องให้ห้างฯชำระภาษีอการที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของปีนั้น ๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราว และหนี้ค่าภาษีการค้าถึงกำหนดชำระภายในวันที่15 ของเดือนถัดไป ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปี พ.ศ. 2518 ถึง 2520 หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ. 2517 ถึง 2519 และหนี้ค่าภาษีการค้าเดือน มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และสิงหาคม 2520 จึงถึงกำหนดก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน จึงเป็นหนี้ตามมาตรา 130 (8) ไม่ใช่หนี้บุริมสิทธิตามมาตรา 130 (6) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 ส่วนเงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ถึงกำหนดชำระเป็นเดือน ๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาจึงเป็นหนี้บุริมสิทธิตามมาตรา 130 (6) และหนี้ค่าภาษีเทศบาลเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าเมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130 (6)ดังนั้น ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) ด้วย |