คำพิพากษาฎีกาที่1889/24 | |
บริษํท ไทยแลนด์ไอออมเวิคส์ จำกัด | โจทก์ |
กรมศุลกากร กับพวก | จำเลย |
เรื่อง การผิดนัดหนี้ การชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้องใช้สิทธิโดยสุจริต,ใช้สิทธิไม่สุจริต,หนี้,ผิดนัด ,ลาภมิควรได้,อายุความ, คู่ความครอบครองปรปักษ์,ใช้สิทธิทางศาล ,โต้แย้งสิทธิ,อำนาจฟ้อง, ประมวลรัษฎากร | |
โจทก์ฟ้องเรียกค่าภาษีที่จำเลยเรียกเก็บโดยไม่มีสิทธิ คืนจาก จำเลย โจทก์บวกค่าภาษีนี้เข้ากับราคาที่โจทก์ขายสินค้าแล้วไม่ถือว่าเป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยได้ชำระค่าภาษีจากโจทก์ไว้โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะเรียกเก็บ จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระคืนแก่โจทก์โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยคืนเงินภาษี ดังกล่าว แต่จำเลยไม่คืน จำเลยจึงผิดนัดหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยต้อง เสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครั้งต่อปีตาม ป.พ.พ.ม.224 การที่โจทก์ชำระค่าภาษีให้จำเลย เพราะจำเลยเรียกเก็บตาม ป.รัษฎากร ไม่ใช่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การฟ้องเรียกภาษี ในกรณีเช่นนี้จึงมิใช่การฟ้องร้องเรียกคืนในฐานลาภมิควร ได้ที่จะต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ.ม.419 จำเลยเรียกเก็บเงินผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติ เป็นเรื่องสิทธิเรียกร้อง ในหนี้เงิน เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในเงินที่เรียกเก็บจำเลยต้องคืนให้โจทก์ กรณี มิใช่เรื่องครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.ม.1382 การที่เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 เก็บภาษีการค้าแทนกรม สรรพากรจำเลยที่ 2 ไม่ถือว่าเป็นการประเมินภาษีตาม ป.รัษฎากร ม.87 จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.รัษฎากร ม.30 ที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ถึงคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้ บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์นำวัตถุดิบกรณีพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ป.รัษฎากร ม.79ทวิแม้ต่อมามีการแก้ไข ป.รัษฎากร ม.79ทวิโดยมประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206ลงวันที่ 15 กันยายน 2514 ข้อ 17 เป็นผลให้ผู้ที่ นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภท 1 การค้า 1 แห่งบัญชีอัตรา ภาษีการค้าไม่ว่าเพื่อการใด ๆ ต้องเสียภาษีการค้าแต่การแก้ไขดังกล่าวมีผล บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2515 ย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โจทก์ นำวัตถุดิบดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร จึงใช้บังคับโจทก์ไม่ได้ |