เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่คำสั่งคำร้องที่ 811/19 
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบ๊งค์กิ้งคอร์ปอเรชั่นฯโจทก์
กรมสรรพากรกับพวกจำเลย
เรื่อง เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ 
กฎหมายที่เกี่ยวข้องฎีกา,ประมวลรัษฎากร
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 1 ปี แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้รอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม โจทก์ร่วมย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ เป็นนิติบุคคลเดียวกัน เมื่อสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศ ซึ่งมีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตาม การที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศ ก็เป็นเพียงการผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้น มิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่ง นิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65ตรี (9) (10) (11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้ บริษัท ป.กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศ ดอกเบี้ยที่บริษัท ป.ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป.ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน และการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศ ย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70ทวิ
 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 02-01-2021