เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 1049/12 
เรื่อง คำว่า"พ่อค้า" ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
 
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอายุความสำหรับบุคคลที่เป็นพ่อค้าหรือเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ,
ละเมิดค้ำประกัน,การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้,พยาน,
สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขหักล้างฟ้องแย้ง,คำให้การ,ประมวลรัษฎากร
 
 
คำว่า"พ่อค้า" ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ต้องถือตามความรู้สึกของประชาชนธรรมดาทั่ว ๆ ไปเข้าใจกันคือหมายถึงบุคคลที่ประกอบการค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระ ไม่หมายความถึงผู้ประกอบการค้าซึ่งไม่ได้ทำการซื้อและขายสินค้าธนาคารพาณิชย์ซึ่งประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามบทมาตราดังกล่าว
การที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว เจ้าหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานโดยมิได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้น เป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยชอบ มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ค้ำประกัน
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น จะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่า ในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อไรก็ได้.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยให้การรับว่า ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องจริง แต่ต่อสู้ว่าลงชื่อในฐานะกรรมการระทำการแทนบริษัทนิติบุคคล ไม่มีเจตนาค้ำประกันเป็นส่วนตัวตามคำให้การจำเลยถือได้ว่า จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันจริง แม้สัญญาค้ำประกันนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง คดีก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานเพราะมีประเด็นเพียงว่า จำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนตัวหรือไม
 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 02-01-2021