เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่7156/2545 
กรมสรรพากร โจทก์

บริษัท อีคอนเพชรจรัสชุมพร จำกัด กับพวก

จำเลย
เรื่อง การประเมินภาษีอากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4

จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นกรรมการ โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ร่วมกันเป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการประเภทขายปลีกและขายส่งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2537 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ประจำเดือนกันยายน 2537 ว่าชำระภาษีเกิน 148,296.30 บาท และขอนำภาษีที่ชำระเกินในเดือนนี้ไปใช้ในเดือนถัดไป แต่จากการตรวจปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพบว่าจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ประจำเดือนกันยายน 2537 ไว้ไม่ถูกต้อง คือนำยอดซื้อก่อนวันจดทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มาหักจากยอดขายของเดือนกันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันเริ่มประกอบการ เป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเป็นเงินภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวม 337,698.58 บาท จำเลยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คงเหลือเงินเรียกเก็บจำนวน 171,344.60 บาท ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ประจำเดือนธันวาคม 2540 โดยนำยอดภาษีที่ชำระเกินจากเดือนพฤศจิกายน 2540 มาเครดิตภาษีในเดือนธันวาคม 2540 แต่จำเลยที่ 1 นำภาษีที่ชำระเกินที่ไม่มีอยู่จริงในเดือนพฤศจิกายน 2540 มาเครดิตทำให้ภาษีที่ต้องชำระขาดไป จึงต้องรับผิดเป็นเงินภาษีรวม 73,880 บาท แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเวลาที่กำหนด การประเมินดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์รวมทั้งสิ้น 441,018.60 บาท
แต่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2541 และจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีได้คืนเงินที่เหลือจำนวน 3,210,057.58 บาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยยังมิได้ชำระเงินภาษีอากรให้แก่โจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรเสียเปรียบ ไม่สามารถยึดอายัดหรือติดตามเงินจำนวนดังกล่าวมาบังคับชำระหนี้ภาษีอากรได้

บริษัทจำเลยที่ 1 ปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์โดยปฏิเสธว่าบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้มีเงินเหลือดังกล่าว และมิได้แบ่งให้ผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด โดยบริษัทได้ฟ้องแย้งในเรื่องเสียภาษีอากร ดังกล่าว ซึ่งศาลถือว่าเป็นฟ้องแย้งที่มีเงือนไข จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชำระค่าภาษีอากรจำนวน 441,018.60 บาท แก่โจทก์กับให้จำเลยที่ 3 ถึง ที่ 8 คืนเงินตามส่วนที่ลงหุ้นที่ได้รับกลับคืนแก่จำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าภาษีอากรจำนวน 441,018.60 แก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนธันวาคม 2540 ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนจากต้นเงิน 71,728.90 บาทนับจากวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่เมื่อรวมกับเงินเพิ่ม 36,581.74 บาท แล้วต้องไม่เกิน 71,728.90 บาท

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 12-02-2021